#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ ปี 2564 เป็นปีประวัติศาสตร์หนึ่งนับตั้งแต่มีการเก็บสถิติประชากรที่ประเทศไทยมีจำนวนคนเกิดน้อยกว่าจำนวนคนตายในปีเดียวกัน กล่าวคือ มีจำนวนประชากรที่เกิด 544,570 คน และจำนวนประชากรที่ตาย 563,650 คน.
➼ ทั้งนี้เมื่อต้นทุนของการมีลูกมีการเพิ่มขึ้น หญิงชายบากบั่นทำงานหาความร่ำรวย บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขดีขึ้น รวมถึงโครงการวางแผนครอบครัวได้ผลที่ดี ทำให้ Total Fertility Rate (จำนวนเด็กที่เกิดจากผู้หญิง) ลดต่ำลงเรื่อยๆ โดยจำนวนการเกิดในแต่ละปีลดลงเป็นลำดับจากเกิน 1 ล้านคน ในปี 2526 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายจนถึงปี 2555 ซึ่งเกิดปีละประมาณ 800,000 คน และลดลงจนถึงเพียง 500,000 คนในปี 2564
➼ ปี 2564 ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย คือที่อัตราร้อยละ 20 และอีก 10 ปี จะเข้าสู่ "ซูเปอร์สังคมผู้สูงวัย" คือร้อยละ 28 และในปี 2583 หรือประมาณ 20 ปีจากนี้ หนึ่งในสามของประชากรไทยจะเป็นผู้สูงวัย
➼ เมื่อสัดส่วนผู้สูงวัยสูงขึ้นจะทำให้กำลังแรงงานของประเทศขยายตัวช้าลงและมีผล (i) การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจช้าลง (ii) คนในวัยแรงงานต้องรับภาระดูแลสังคมและเศรษฐกิจมากขึ้นผ่านภาระภาษีที่หนักขึ้น การออมที่ต่ำลง (iii) ภาครัฐมีข้อจำกัดด้านงบประมาณมากขึ้น
➼ หากเปรียบเทียบระหว่างปี 2558 กับ 2583 สังคมไทยจะมีคนวัยทำงานน้อยลงไปกว่า 7-8 ล้านคน ในขณะที่เราต้องการการขยายตัวทางเศรษฐกิจอีกมากในอนาคต ดังนั้นคำถามที่สำคัญคือ การหาแรงงานที่หายไปเพื่อจะให้เรายังคงมาตรฐานการครองชีพของประชากรได้
อ้างอิง: "ประชากร กับชีวิตของประเทศ" วรากรณ์ สามโกเศศ, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น