ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2020

การดูแลสุขภาพของผู้บริโภคแต่ละวัย (s.184)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business  . บทความจาก Exim E-News ได้ลงบทความเกี่ยวข้องกับมุมมองด้านสุขภาพของผู้บริโภคแต่ละวัยไว้ได้อย่างสนใจ โดยจากการที่มุมมองด้านสุขภาพในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต โดยจากข่าวสารที่ได้รับ เทคโนโลยีใหม่ๆ และปัญหาสุขภาพที่คนแต่ละวัยต้องเผชิญ โดยมีเนื้อหาสรุปสิ่งสำคัญได้ดังนี้ . ผู้บริโภคในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น : โดยคำว่าสุขภาพดีได้เปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วง 2-3 ปีมานี้ โดยผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการมีสุขภาพจิตที่ดีมากขึ้น เป็นการให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม . ผู้บริโภคแต่ละช่วงอายุมีปัญหาการนอนหลับที่แตกต่างกัน : ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในกลุ่ม Baby Boomer (อายุ 56-74 ปี) จะเป็นกลุ่มที่ตื่นบ่อยระหว่างคืน แต่คนกลุ่มนี้เห็นว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่ปัญหาที่ต้องแก้ไข  แต่สำหรับคนอายุช่วง Gen Y หรือ Gen Z ซึ่งปัจจุบันอายุไม่เกิน 39 ปี มักมีปัญหานอนยาก นอนไม่หลับ และเมื่อตื่นก็จะรู้สึกเหน็ดเหนื่อย ไม่สดชื่น . การควบคุมน้ำหนัก : การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในระดับปกติเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคค่อนข้างให้ความสำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่ม Gen Z แ...

เศรษฐกิจประเทศไทย ปี 2020 และอนาคต (s.183)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business  . จากบทวิเคราะห์ของ EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ซึ่งตีพิมพ์ใน EIC Outlook ฉบับไตรมาส 4/2020 กล่าวถึงเศรษฐกิจไทยปี 2020 (ไตรมาส 4/2020) ไว้ได้อย่างน่าสนใจ โดยมีเนื้อหาที่น่าสนใจสรุปดังนี้ . เริ่มจากการกล่าวถึงเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้วชะลอตัวในระยะสั้นจากการระบาดของไวรัสรอบใหม่ แต่คาดว่าจะกลับมาขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปในปี 2021 ตามปัจจัยของวัคซีน มาตรการกระตุ้น และการฟื้นของเศรษฐกิจที่มีแนวโน้วดีขึ้น  อย่างไรก็ดี GPD ของเศรษฐกิจหลักส่วนใหญ่ (ยกเว้นจีน) จะยังไม่กลับไปที่ระดับของปี 2562 . เศรษฐกิจไทย การฟื้นตัวในช่วงไตรมาส 3/2020 ส่งผลให้ GDP ทั้งปี 2020 มีแนวโน้วหดตัวที่ -6.5% โดยการระบาดในไทยที่เริ่มมีอีกครั้งอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวในประเทศระยะสั้น . เศรษฐกิจไทยในปี 2021 คาดว่าจะขยายตัวที่ 3.8% โดยมีปัจจัยจากฐานที่ต่ำ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก เม็ดเงินจากภาครัฐทั้งในงบประมาณและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม รวมถึงการกระจายวัคซีนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2021  อย่างไรก็ดี แผลเป็นทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนี้ย...

การปฏิรูปเชิงโครงสร้าง กับปัจจัยในความสำเร็จ (2) (s.182)

  #busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business  . ต่อจากครั้งที่แล้วในเรื่องขององค์กรเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ได้สังเคราะห์บทเรียนจากการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง เพื่อค้นหาและวิเคราะห์ปัจจัยในการดำเนินการปฏิรูปให้ประสบความสำเร็จ โดยมีปัจจัยสำคัญ 6 ข้อ โดยครั้งที่ผ่านมาได้นำเสนอ 3 ข้อ และในครั้งนี้จะขอนำเสนอ 3 ข้อ ที่เหลือ . 4. ปัจจัยด้านเวลา : การปฏิรูปเชิงโครงสร้างที่สำเร็จมักจะใช้เวลา ซึ่งการเร่งรีบหรือตอบสนองต่อแรงกดดันในขณะหนึ่งๆ มักจะยิ่งทำให้ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิรูปเกิดขึ้นได้ช้า นอกจากนี้การปฏิรูปที่ประสบความสำเร็จมักจะใช้ความพยายามหลายครั้ง . 5. การมีส่วนร่วมของฝ่ายที่ต่อต้านการปฏิรูป : การปฏิรูปต้องให้กลุ่มที่ได้รับผลกระทบในระดับที่สูงเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งในระยะสั้นอาจมีความขัดแย้งเกิดขึ้น แต่ในระยะยาวการมีส่วนร่วมจะช่วยสร้างความไว้วางใจมากขึ้น  . 6. การชดเชยให้กับผู้ได้รับผลกระทบทางลบ : กระบวนการชดเชยถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งหากล้มเหลวในการชดเชยจะทำให้การต่อต้านการปฏิรูปมีมาก แต่หากชดเชยมากเกินไปจะสร้างต้นทุนและความคาดหวังที่สูง  . ทั้งนี้ แนวทางคือการให...

การปฏิรูปเชิงโครงสร้าง กับปัจจัยในความสำเร็จ (1) (s.181)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business   . การปฏิรูปเชิงโครงสร้างนั้นเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับหลายสังคม แต่ปัญหาหนึ่งที่เรามักพบคือการดำเนินการปฏิรูปนั้นเป็นไปอย่างล่าช้าหรือกระทั่งขาดแนวทางในการดำเนินการปฏิรูปที่ดีที่เหมาะสม . องค์กรเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ได้สังเคราะห์บทเรียนจากการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง เพื่อค้นหาและวิเคราะห์ปัจจัยในการดำเนินการปฏิรูปให้ประสบความสำเร็จ โดยมีปัจจัยสำคัญ 6 ข้อ โดยครั้งนี้จะขอนำเสนอ 3 ข้อ . 1. การได้รับมติจากประชาชนให้ปฏิรูปผ่านการเลือกตั้ง : โดยปัจจัยนี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดต่อความสำเร็จของการปฏิรูป  อย่างไรก็ดี การปฏิรูปที่ไม่ได้มติมาจากคนส่วนใหญ่นั้นจะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อสามารถทำให้เกิดประโยชน์ที่จับต้องได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมักเป็นไปได้ยากในการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง . 2. การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ โดยมีหลักฐานทางวิชาการที่น่าเชื่อถือสนับสนุน : การสื่อสารให้สาธารณะทราบถึงเป้าหมายที่ชัดเจนในระยะยาวมีผลมาก โดยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะหมายถึงการที่ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ซึ่งการปฏิรูปเชิงโครงสร้างที...

ธุรกิจความงาม กับการสื่อสารบนทวิตเตอร์ (s.180)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business บทสนทนาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลบททวิตเตอร์ประเทศไทยมีถึง 60 ล้านทวีตในปีที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นคอมมูนิตี้ที่มีแพสชั่นและเอ็นเกจเม้นต์สูงมาก  ทั้งนี้ภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกถือเป็นหนึ่งในตลาดที่มีการเติบโตรวดเร็วที่สุดของโลกในด้านความงามและผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล ซึ่งมีสัดส่วนถึง 32% ของตลาดโลก  ประเทศไทยของเราเป็นหนึ่งในตลาดของภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุด โดย 77% ของผู้ใช้งานทวิตเตอร์มีความสนใจเรื่องดูแลผิวพรรณและร่างกาย โดย 77% ของผู้ใช้งานทวิตเตอร์สนใจในเรื่องดูแลผิวพรรณและร่างกาย และ 1 ใน 3 สนใจเรื่องเครื่องสำอางเป็นอย่างมาก ผู้คนบททวิตเตอร์ที่สนใจด้านความงาม 72% เข้ามาเพื่อค้นหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ความงามใหม่ๆ และมากกว่า 50% อยากจะเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้ซื้อและลองใช้ผลิตภัณฑ์ 74% ของผู้ที่สนใจเรื่องเครื่องสำอางจะหาข้อมูลของผลิตภัณฑ์ทางออนไลน์ก่อนตัดสินใจซื้อ โดยจะมีการตั้งคำถามบนทวิตเตอร์และมองหาคำแนะนำที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ  จำนวนถึง 46% มักจะแสดงความคิดเห็นต่อผลิตภัณฑ์ที่เคยใช้ และจำนวน 53% แฟนๆ ด้านความงามในประเทศไทยมักจะบอกต่อถึงแบรนด์รว...

10 เทคโนโลยี กับวิถีชีวิตใหม่ (s.179)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business  . สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้นำเสนอเทคโนโลยี 10 อย่างที่จะตอบโจทย์ในชีวิตของวิถีใหม่หลังยุคโควิค 19 ซึ่งรวมถึงโจทย์ของธุรกิจ ประกอบด้วย . 1. วัคซีนโควิด-19 : การจัดการกับการระบาดของโรค โดยหลักๆ ใช้ 3 วิธี คือ การสร้างภูมิคุ้นกันหมู่  การพัฒนายารักษาโรคโควิด-19  และการพัฒนาวัคซีน  โดยประเทศไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาวัคซีนเป็นอย่างมาก  2. ยาแก้ไขความชรา : ถือเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคนที่ผู้คนเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยจะช่วยให้เราใช้ชีวิตในช่วงวัยชราได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข 3. อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งสุขภาพ : ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ เซนเซอร์, ฐานข้อมูลสุขภาพ และซอฟต์แวร์วิเคราะห์ข้อมูล ที่ทำหน้าที่ประมวลผลสำหรับแพทย์และติดตามการวินิจฉัย รวมทั้งแสดงผลกลับไปยังผู้ป่วย 4. ชิปสายพันธ์ใหม่ : เป็นการพัฒนาชิปคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลได้รวดเร็วเหมือนกับสมองของมนุษย์ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ที่ซับซ้อนหลายมิติได้พร้อมกัน 5. การสื่อสารด้วยภาพ : เป็นรูปแบบการสื่อสารใหม่ๆ ในการทำให้คอมพิวเตอร์มี...

ข้อคิดจากโค้ชล้านล้าน (s.178)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business  . บทความโดยคุณจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้สรุปเรื่องราวจากหนังสือ Triilion Dollar Coach ซึ่งรวบรวมเรื่องราวการเป็นโค้ชของบิล แคมป์เบลล์ ผู้ซึ่งเป็นโค้ชให้กับผู้บริหารของบริษัทเทคโนโลยีชื่อดังในอเมริกา ดังนี้ . 1. Your People Make You a Leader : บิลเชื่อว่าผู้นำที่ดีต้องให้ความสำคัญกับคน สร้างแวดล้อมเพื่อให้คนได้ปล่อยศักยภาพของตนเองออกมาเต็มที่  และในการถกเถียงประเด็นต่างๆ ต้องพิจารณาถึงแก่นแท้ของเรื่องและนำมาใช้เป็นกรอบในการถกเถียงเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด . 2. Build an Envelop of Trust : การสร้างความเชื่อใจและความปลอดภัยเชิงจิตวิทยาจะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการทำงาน การตั้งความหวังไว้สูงและช่วยผลักดันให้ไปถึงเป้าหมายด้วยการรับฟังและตั้งคำถามที่ช่วยให้ผู้ฟังพบคำตอบด้วยตัวเอง การให้ฟีดแบคที่ตรงไปตรงมา . 3. Team First : ผู้บริหารต้องสร้างทีมที่เหมาะสมสำหรับปัญหานั้นๆ โดยมองหาทีมที่มีทั้ง "หัว" และ "ใจ" โดยให้ความสำคัญทั้ง Soft Skill และ Hard Skil...

คำทำนาย วิเคราะห์โลกในปี 2564 (s.177)

จากบทความของ ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์ ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ได้กล่าวถึง 5 คำทำนายในปี 2564 ซึ่งมีความน่าสนใจในการติดตามเพื่อเราจะได้นำมาพิจารณาวิเคราะห์และเตรียมตัวของเราในการเข้าสู่ปีใหม่นี้ได้อย่างมั่นใจ โดยในครั้งนี้นำเสนอ 3 คำทำนายดังนี้  . การเปลี่ยนแปลงในปี 2563 มีเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนอย่างมากในด้านต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สงครามเย็น และการพัฒนาของโลก . 1. โควิค-19 ที่ได้นำมาซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่รุนแรงที่สุดในรอบกว่า 80 ปี ทำให้เกิดรอยแผลเป็นทางเศรษฐกิจ 2. ประธานาธิบดีทรัมป์แพ้การเลือกตั้ง เป็นจุดเริ่มต้นของการหมดยุคกระแสชาตินิยมขวาจัด 3. การลงทุนโลกในภาพรวมเติบโต สวนทางกับเศรษฐกิจ โดยเป็นผลจากการอัดฉีดทางการคลังทั่วโลก 4. สงครามเย็นที่มีแนวโน้มเปลี่ยนรูปแบบ เป็นการใช้รูปแบบพันธมิตรมากขึ้น 5. เอเซียมีแนวโน้มจะผงาดขึ้นมาเป็นใหญ่ แทนตะวันตก  . ภาพของปี 2564 ที่จะเกิดขึ้นสามารถฉายภาพที่จะน่าจะเป็นของโลกในยุคใหม่ . 1. วัคซีนจะมาช้ากว่าคาด แต่ยารักษาโควิดและเครื่องตรวจ จะเป็นความหวังและผู้คนจะชินกับนิ...

การศึกษากับแนวทางการปรับตัวของสถาบัน (s.176)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business  . เทคโนโลยีทำให้เราใช้คนน้อยลงในอนาคต ทำงานสมาร์ทขึ้น แต่กำลังแรงงานที่จะมาทดแทนในอนาคตก็มีแนวโน้มว่าน่าจะไม่เพียงพอ และที่สำคัญคือเศรษฐกิจใหม่จำเป็นต้องใช้คนที่มีทักษะใหม่ ซึ่งคนเจนเนอเรชั่นก่อนๆ อาจไม่มีหรือไม่เชี่ยวชาญ . วิธีจัดการเรื่องทักษะความเชี่ยวชาญอย่างหนึ่งคือการที่เราต้องทำการยกระดับทักษะเดิม (Upskill) และสร้างทักษะใหม่ (Reskill) ให้กับแรงงาน . ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นในที่ทำงานที่มีคนทำงานระหว่างวัยทำงานร่วมกันคือ "ช่องว่างระหว่างเจน"  ซึ่งองค์กรจะทำอย่างไรให้ทุกเจนที่อยู่ในตลาดแรงงานพูดจาภาษาเดียวกัน สื่อสารกันเข้าใจ  ทั้งนี้พื้นฐานของเรื่องนี้อยู่ที่ "การเปิดใจ" และ "ปรับมุมมอง" อันเป็นเรื่องวิธีคิดและทัศนคติมากกว่าเรื่องความรู้และทักษะ . จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง สถาบันการศึกษาควรปรับตัวเพื่อให้ตอบโจทย์ทั้งความเร็วของการพัฒนาและความแตกต่างของเจนต่างๆ โดยมีแนวทาง 5 ด้าน ได้แก่ 1. ปรับลงบทบาทความเป็น "แหล่งความรู้" ให้น้อยลง 2. เพิ่มบทบาทความเป็น "แพลตฟอร์มสร้างทักษะ" โดยต้องมีความยืดห...

ความท้าทายต่อนโยบายเศรษฐของประเทศไทย ภายหลังโควิด-19 (s.175)

  #busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business  . ความเสี่ยงหลักต่อเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน และรวมจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ มี 3 เรื่องหลักๆ       1. ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ระบาดโควิด-19 ที่อาจประทุขึ้นมาอีก และนำไปสู่การ lockdown สร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจ      2. ความยืดเยื้อของวิกฤตเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น และสร้างความเสียหายต่อศักยภาพของการเติบโตเศรษฐกิจในระยะยาว      3. ความสามารถในการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่องจะน้อยลง เพราะผลกระทบต่อฐานะการคลัง และเสถียรภาพของระบบการเงินของประเทศ  ในบริบทความเสี่ยงดังกล่าวนั้น สำหรับประเทศไทยของเรา ความท้าทายต่อผู้ทำนโยบายทางเศรษฐกิจจึงมีด้วยกัน 3 เรื่อง ประกอบด้วย      1. ป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ขึ้นมาอีกครั้ง เพราะจะสร้างผลกระทบและทำลายบรรยากาศการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ      2. ใช้ทรัพยากรการเงินที่มีอยู่ในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างตรงจุดและมีวินัย โดยเน้นช่วยเหลือชีวิตความเป็นอยู่และความสามารถในการหารายได้ของคนกลุ่มล่างในสังคม ที่ไ...

อาการหลงคิดตามกลุ่ม คืออะไร (s.174)

Group Thinking Syndrome หรืออาการหลงคิดตามกลุ่ม เป็นอาการที่คนเมื่ออยู่รวมกันจะมีอิทธิพลต่อความคิดของกันและกัน โดยกลุ่มที่เราไปรวมตัวกับพวกเขาจะมีอิทธิพลต่อความคิดของเรามากกว่าที่เราคิดไว้ . อาการหลงคิดตามกลุ่ม มีผลทั้งบวกและลบ โดยทางบวกคือเมื่อคนคิดอะไรตามกันไปหมด การงานก็จะเดินหน้าอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ทางลบคือกลุ่มอาจคิดไปในทางที่เสี่ยงในเรื่องที่ไม่ควรเสี่ยงมากขึ้น . การหลงคิดตามกลุ่ม ทำให้ผู้คนปิดหูปิดตากับสารพัดความเสี่ยงที่ปรากฏ จากความเชื่อมั่นในกลุ่มตนเองมากกว่าที่ควรจะเป็น เราจึงมักเห็นผู้คนรวมตัวคิดอะไรต่อมิอะไรเลยเถิดได้เสมอ ยิ่งกลุ่มใหญ่ยิ่งมีอาการเลยเถิดเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น .  เครือข่ายสังคมสังคมเป็นตัวเร่งการพัฒนาอาการหลงคิดตามกลุ่มให้เกิดเร็วขึ้นเป็นอย่างมาก และเมื่อมีการหลงคิดตามกลุ่มในวันนี้แล้ว โอกาสถอนตัวก็ยิ่งลำบากมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก เพราะคนใช้เวลาในกลุ่มมากกว่าเมื่อเทียบกับสมัยอดีตมาก . งานวิจัยหนึ่งพบว่ากลุ่มอายุที่เกิดอาการหลงคิดตามกลุ่มได้มากและเร็ว คือ กลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มเริ่มสูงอายุ ในขณะคนหนุ่มสาวและคนวัยกลางจะระวังตัวกับอาการนี้ได้ดีมากกว่า . ที่มา: ห...

คนกรุงเทพฯ ใช้เวลากับรถติดเท่ากับการเดินทางไปดวงจันทร์เกือบ 2 รอบ (s.173)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . คงใช่ไม่คำพูดที่เลื่อนลอยที่จะบอกว่าคนกรุงเทพฯ ที่ต้องเผชิญกับปัญหารถติด โดยเฉลี่ยจะใช้เวลาบนท้องถนนใน 1 ปี เท่ากับ 207 ชั่วโมงหรือประมาณ 8 วัน 15 ชั่วโมง.  แต่ถ้าจะให้เข้าใจง่ายขึ้นไป คือ เวลานี้จะเท่ากับการดูฟุตบอล 138 คู่  หรือดูหนัง Harry Potter ทั้ง 7 ภาคได้ถึง 9 รอบ  หรือเท่ากับการเดินทางจากโลกไปยังดวงจันทร์ได้ถึง 1.9 รอบ ! . โดยจากการที่รถติดขนาดนี้ก็ยังส่งผลให้สภาพอากาศอันตรายอยู่ในเกณฑ์ที่ส่งผลถึงสุขภาพเช่ากัน โดยในช่วง ม.ค.-ส.ค.63 สภาพอากาศของกรุงเทพฯ มีค่า PM10 อยู่ที่ 43.6 ug/m3 (ค่าที่ WHO แนะนำคือไม่ควรเกิน 20 ug/m3) และ PM2 อยู่ที่ 22.7 ug/m3 (ค่าที่ WHO แนะนำคือไม่ควรเกิน 10 ug/m3)  ซึ่งจะเห็นได้ว่ากรุงเทพฯ เริ่มกลับมามีมลพิษทางอากาศจากปัญหารถติดอีกครั้งหลังจากที่อากาศดีขึ้นในช่วงที่ lockdown.  ซึ่งนอกจากปัญหาสภาพอากาศที่ส่งผลถึงสุขภาพโดยตรงแล้ว ยังมีผลกระทบอื่นเช่น ความเครียดจากสภาพการจราจรที่ติดขัด ความน่าดึงดูดที่ลดลงในการดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ เป็นต้น  ทั้งนี้การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัว การสนั...

สมอง เทคนิคเพื่อปรับปรุงความจำ (s.172)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . จากกรุงเทพธุรกิจ วันที่ 6 ธันวาคม 2563 เรื่อง "สมอง เรียนรู้ได้ดีช่วงไหน" โดย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ ได้เปิดเผยถึงความลับของสมองที่ไขถึงเทคนิคการเรียนรู้และความจำให้ดีขึ้น โดยนำมาสรุปในส่วนที่น่าสนใจได้ดังนี้ . สมองคนสูงวัยจะเรียนรู้ได้ดีช่วงเช้า ในขณะที่คนหนุ่มสาวไม่ว่าเช้าหรือบ่ายก็ยังกระฉับกระเฉงในการเรียนรู้ . การศึกษาของนักวิจัยที่สถาบันวิจัยร็อตแมน (Rotman Research Institute) ประเทศแคนาดา พบว่าคนวัยทองอายุ 60–82 ปี ทำงานได้อย่างมีสมาธิ ไม่วอกแวก ในช่วง 8.30-10.30 น. เมื่อเทียบกับการทำงานในช่วง 13.00-17.00 น. . โดยจากการ scan สมองด้วยเครื่อง fMRI พบว่าในช่วงบ่ายนี้ สมองของผู้สูงวัยจะเข้าโหมดเฉื่อย และทำงานไปตามโปรแกรมอัตโนมัติ . นอกจากนี้ การทดลองโดยมหาวิทยาลัยไฟร์บวร์ก ประเทศเยอรมนี ได้ทดสอบเปรียบเทียบการท่องจำข้อมูลของวัยรุ่นอายุ 16-17 ปี ในช่วงบ่าย 3 โมงกับตอน 3 ทุ่ม พบว่าตอนบ่ายทำได้ดีกว่ามาก แต่หากเป็นการฝึกทักษะที่ต้องการมีเคลื่อนไหวร่างกาย ตอนเย็นกลับทำได้ดีกว่า . การนอนหลังจากเรียนเนื้อหาหรือทักษะใหม่ๆ ช่วยให้จำได้ดีขึ้น โดยหากเป็...

เทคโนโลยียืนยันตัวตน (s.171)

  เทคโนโลยียืนยันตัวตนได้รับความสนใจมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร ซึ่งเทคโนโลยียืนยันตัวตนจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยยกระดับการให้บริการของธนาคารที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจ ความปลอดภัย และความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งาน โดยปัจจุบันมีตัวอย่างเทคโนโยลีที่น่าสนใจ ได้แก่ 1. ระบบการแสกนม่านตา : อาศัยกล้องและแสงอินฟาเรด (IR LED) ทำงานร่วมกัน โดยกล้องจะเก็บภาพจากแสงอินฟาเรดที่สะท้อนบนม่านตา เพื่อจดจำม่านตาของผู้ใช้งานแต่ละคน โดยเทคโนโลยีนี้มีความปลอดภัยสูงเมื่อเทียบกับการแสกนลายนิ้วมือหรือการจดจำด้วยเสียง 2. ระบบการจดจำด้วยเสียง : เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีแบบไบโอเมตริกหรือการแยกแยะตัวตนผ่านคุณลักษณะจำเพาะของบุคคล อย่างไรก็ดีเทคโนโลยีนี้ยังมีข้อถกเถียงสำหรับประเด็นของความน่าเชื่อถืออยู่ 3. ระบบการยืนยันตัวตนด้วยเส้นเลือดดำ : การยืนยันตัวตนด้วยระบบนี้อาศัยการสแกนเส้นเลือดดำบนฝ่ามือของผู้ใช้ที่ให้ความแม่นยำสูงและปลอดภัย ฝั่งตัวผู้ใช้เองก็ไม่จำเป็นต้องไปสัมผัสกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านค่าลักษณะเส้นเลือดโดยตรงด้วย 4. ระบบการระบุพิกัด : เป็นเทคโนโลยีที่ไม่ได้อยู่ในรูปของไบโอเมตริก แต่เป็...