#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business
.
ต่อจากครั้งที่แล้วในเรื่องขององค์กรเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ได้สังเคราะห์บทเรียนจากการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง เพื่อค้นหาและวิเคราะห์ปัจจัยในการดำเนินการปฏิรูปให้ประสบความสำเร็จ โดยมีปัจจัยสำคัญ 6 ข้อ โดยครั้งที่ผ่านมาได้นำเสนอ 3 ข้อ และในครั้งนี้จะขอนำเสนอ 3 ข้อ ที่เหลือ
.
4. ปัจจัยด้านเวลา : การปฏิรูปเชิงโครงสร้างที่สำเร็จมักจะใช้เวลา ซึ่งการเร่งรีบหรือตอบสนองต่อแรงกดดันในขณะหนึ่งๆ มักจะยิ่งทำให้ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิรูปเกิดขึ้นได้ช้า นอกจากนี้การปฏิรูปที่ประสบความสำเร็จมักจะใช้ความพยายามหลายครั้ง
.
5. การมีส่วนร่วมของฝ่ายที่ต่อต้านการปฏิรูป : การปฏิรูปต้องให้กลุ่มที่ได้รับผลกระทบในระดับที่สูงเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งในระยะสั้นอาจมีความขัดแย้งเกิดขึ้น แต่ในระยะยาวการมีส่วนร่วมจะช่วยสร้างความไว้วางใจมากขึ้น
.
6. การชดเชยให้กับผู้ได้รับผลกระทบทางลบ : กระบวนการชดเชยถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งหากล้มเหลวในการชดเชยจะทำให้การต่อต้านการปฏิรูปมีมาก แต่หากชดเชยมากเกินไปจะสร้างต้นทุนและความคาดหวังที่สูง
.
ทั้งนี้ แนวทางคือการให้มีกระบวนการการมีส่วนร่วม โดยเฉพาะผู้ที่เสียประโยชน์ นอกจากนี้การปฏิรูปอย่างครอบคลุมมีกำหนดการที่ชัดเจนจะได้ผลดีกว่าการปฏิรูปเป็นประเด็นย่อยๆ
.
ที่มา: หนังสือพิพม์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 23 ธ.ค. 63 เรื่อง "ปฏิรูปเชิงโครงสร้าง อย่างไรให้สำเร็จ?" โดยคุณธราธร รัตนนฤมิตศร
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น