#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business
.
การปฏิรูปเชิงโครงสร้างนั้นเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับหลายสังคม แต่ปัญหาหนึ่งที่เรามักพบคือการดำเนินการปฏิรูปนั้นเป็นไปอย่างล่าช้าหรือกระทั่งขาดแนวทางในการดำเนินการปฏิรูปที่ดีที่เหมาะสม
.
องค์กรเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ได้สังเคราะห์บทเรียนจากการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง เพื่อค้นหาและวิเคราะห์ปัจจัยในการดำเนินการปฏิรูปให้ประสบความสำเร็จ โดยมีปัจจัยสำคัญ 6 ข้อ โดยครั้งนี้จะขอนำเสนอ 3 ข้อ
.
1. การได้รับมติจากประชาชนให้ปฏิรูปผ่านการเลือกตั้ง : โดยปัจจัยนี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดต่อความสำเร็จของการปฏิรูป อย่างไรก็ดี การปฏิรูปที่ไม่ได้มติมาจากคนส่วนใหญ่นั้นจะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อสามารถทำให้เกิดประโยชน์ที่จับต้องได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมักเป็นไปได้ยากในการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง
.
2. การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ โดยมีหลักฐานทางวิชาการที่น่าเชื่อถือสนับสนุน : การสื่อสารให้สาธารณะทราบถึงเป้าหมายที่ชัดเจนในระยะยาวมีผลมาก โดยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะหมายถึงการที่ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ซึ่งการปฏิรูปเชิงโครงสร้างที่ประสบความสำเร็จนั้นมักตั้งอยู่บนพื้นฐานของงานวิจัยที่มีหลักฐานน่าเชื่อถือสนับสนุน
.
3. ปัจจัยเชิงสถาบันที่มีความเข้มแข็งและความเป็นผู้นำในการปฏิรูป : ปัจจัยเชิงสถาบันจะช่วยสนับสนุนการปฏิรูปตั้งแต่การตัดสินใจ ไปจนกระทั่งการนำข้อเสนอไปสู่การปฏิบัติ ความไว้วางใจ หรือทุนทางสังคม มีความสำคัญและจะส่งผลกระทบอย่างสูง
.
ที่มา: หนังสือพิพม์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 23 ธ.ค. 63 เรื่อง "ปฏิรูปเชิงโครงสร้าง อย่างไรให้สำเร็จ?" โดยคุณธราธร รัตนนฤมิตศร
.
การปฏิรูปเชิงโครงสร้างนั้นเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับหลายสังคม แต่ปัญหาหนึ่งที่เรามักพบคือการดำเนินการปฏิรูปนั้นเป็นไปอย่างล่าช้าหรือกระทั่งขาดแนวทางในการดำเนินการปฏิรูปที่ดีที่เหมาะสม
.
องค์กรเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ได้สังเคราะห์บทเรียนจากการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง เพื่อค้นหาและวิเคราะห์ปัจจัยในการดำเนินการปฏิรูปให้ประสบความสำเร็จ โดยมีปัจจัยสำคัญ 6 ข้อ โดยครั้งนี้จะขอนำเสนอ 3 ข้อ
.
1. การได้รับมติจากประชาชนให้ปฏิรูปผ่านการเลือกตั้ง : โดยปัจจัยนี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดต่อความสำเร็จของการปฏิรูป อย่างไรก็ดี การปฏิรูปที่ไม่ได้มติมาจากคนส่วนใหญ่นั้นจะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อสามารถทำให้เกิดประโยชน์ที่จับต้องได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมักเป็นไปได้ยากในการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง
.
2. การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ โดยมีหลักฐานทางวิชาการที่น่าเชื่อถือสนับสนุน : การสื่อสารให้สาธารณะทราบถึงเป้าหมายที่ชัดเจนในระยะยาวมีผลมาก โดยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะหมายถึงการที่ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ซึ่งการปฏิรูปเชิงโครงสร้างที่ประสบความสำเร็จนั้นมักตั้งอยู่บนพื้นฐานของงานวิจัยที่มีหลักฐานน่าเชื่อถือสนับสนุน
.
3. ปัจจัยเชิงสถาบันที่มีความเข้มแข็งและความเป็นผู้นำในการปฏิรูป : ปัจจัยเชิงสถาบันจะช่วยสนับสนุนการปฏิรูปตั้งแต่การตัดสินใจ ไปจนกระทั่งการนำข้อเสนอไปสู่การปฏิบัติ ความไว้วางใจ หรือทุนทางสังคม มีความสำคัญและจะส่งผลกระทบอย่างสูง
.
ที่มา: หนังสือพิพม์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 23 ธ.ค. 63 เรื่อง "ปฏิรูปเชิงโครงสร้าง อย่างไรให้สำเร็จ?" โดยคุณธราธร รัตนนฤมิตศร
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น