#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ ความเหงาเป็นความรู้สึกว้าเหว่อ้างว้าง ซึ่งเป็นความรู้สึกของการตัดขาดทางสังคม และถือเป็นภัยต่อจิตใจของมนุษย์อย่างหนึ่ง โดยรัฐบบาลอังกฤษเป็นประเทศแรกในโลกที่มีแผนกลยุทธ์ลดความเหงา เน้นการมุ่งมั่นในการร่วมกันทำงานของ 9 หน่วยงานของรัฐ
➼ งานวิจัยของ Harvard ในปี 2564 พบว่าการระบาดของโควิด-19 ก่อให้เกิดการระบาดของความเหงาหรือความรู้สึกตัดขาดทางสังคมในหมู่คนอเมริกันอย่างกว้างขวาง โดยคนในวัยปลายวันรุ่นและต้นวัยหนุ่มมีอาการของความวิตกกังวลและซึมเศร้าค่อนข้างสูง
➼ ในเดือน ต.ค.2563 มีจำนวนคนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายทั้งเดือนมากกว่าคนที่ตายด้วยโรคโควิด-19 รวมกันทั้งปีของปี 2563. และในต้นปี 2564 รัฐบาลญี่ปุ่นจึงตั้งรัฐมนตรีขึ้นมาโดยมุ่งใช้มาตรการเพื่อป้องกันความรู้สึกตัดขาดทางสังคม อันนำไปสู่ความเหงาและปัญหาจิตตามมา
➼ การสำรวจในออสเตรเลีย ในเรื่องความเหงาพบว่าร้อยละ 50 รู้สึกเหงาหนึ่งวันในหนึ่งสัปดาห์ และถึงร้อยละ 28 รู้สึกเหงา 3 วันในหนึ่งสัปดาห์ ทำให้เกิดแรงผลักดันจากสื่อและประชาชนให้มีรัฐมนตรีทำหน้าที่แก้ปัญหาเรื่องความเหงาบ้าง
➼ แต่ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีรัฐมนตรีกี่คนมาช่วยกันแก้ไขปัญหาทางจิตใจที่เกิดขึ้นในสังคม ก็ไม่อาจแก้ไขได้ถ้าประชาชนและภาคส่วนต่างๆ ในสังคมไม่ร่วมมือกัน
อ้างอิง: "รัฐมนตรีไล่ความเหงา" วรากรณ์ สามโกเศศ, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น