#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ มีอีกมุมมองหนึ่งเกี่ยวกับเงินเดือนและค่าตอบแทนจากการทำงาน ซึ่งมองว่าการเปิดเผยข้อมูลเงินเดือนและค่าตอบแทนนั้นมีความจำเป็น โดยได้เห็นในหลายประเทศเริ่มออกกฎหมายบังคับให้บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลเงินเดือน เพื่อเพิ่มความโปร่งใสและบรรลุวัตถุประสงค์ต่างๆ
➼ กรณีค่าตอบแทนผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐ อังกฤษ ญี่ปุ่น ต่างมีกฎหมายหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการเปิดเผยค่าตอบแทนเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บริหารได้รับค่าตอบแทนที่มากเกินควร หรือป้องกันโครงสร้างค่าตอบแทนไม่เหมาะสม
➼ ในส่วนของประเทศไทย บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ก็มีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลค่าตอบแทนผู้บริหาร แต่ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลเป็นรายบุคคล
➼ กรณีการเปิดเผยข้อมูลเงินเดือนเพื่อแก้ไขปัญหาช่องว่างระหว่างค่าจ้างแรงงานหญิงกับชาย ซึ่งหลายๆ ประเทศได้ออกกฎหมายบังคับให้เปิดเผยข้อมูลโดยมีจุดมุ่งหมายแก้ไขปัญหาช่องว่างค่าจ้างระหว่างแรงงานหญิงกับแรงงานชาย
➼ ตัวอย่าง ของการเปิดเผย เช่น อังกฤษบังคับให้บริษัทที่มีบริษัทตั้งแต่ 250 คนขึ้นไป เปิดเผยข้อมูลค่าเฉลี่ย และค่ามัธยฐานของข้อมูลเกี่ยวกับค่าจ้างและโบนัส
➼ ทั้งนี้ แนวโน้มการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเงินเดือนในต่างประเทศ น่าจะมุ่งไปสู่การเปิดเผยที่มากขึ้น แต่สิ่งที่ต้องจับตา คือ ผลลัพธ์จากการเปิดเผยจะมีผลกระทบอย่างไร และแนวโน้มกฎหมายจะมุ่งหน้าไปทางใด รวมถึงของประเทศไทยที่จะเปลี่ยนแปลงไปเช่นใด
อ้างอิง: "แนวโน้มกฎหมายเปิดเผยข้อมูลเงินเดือน" ภาณุพันธุ์ อุดมสุวรรณกุล และ ภูมิภัทร อุดมสุวรรณกุล, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น