#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ จากข้อมูลการประเมินสุขภาพจิตคนไทยจาก website ของกรมสุขภาพจิต ช่วง 1 ม.ค.63 - 9 เม.ย.65 มีผู้ทำการประเมินกว่า 3 ล้านคน พบว่า มีความเครียดสูงถึงร้อยละ 7.59 โดยมีความเสี่ยงซึมเศร้าร้อยละ 8.96 มีความเสี่ยงฆ่าตัวตายร้อยละ 4.95 และมีภาวะหมดไฟร้อยละ 4.16
➼ สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ธุรกิจหลายแห่งเริ่มเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือดูแลปัญหาสุขภาพจิตกันมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากผลิตภัณฑ์ บริการ รวมถึงกิจกรรมทางการตลาดที่มุ่งให้ความช่วยเหลือและตอบสนองต่อสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตมากขึ้น
➼ ตัวอย่างเคสในต่างประเทศ เช่น โรงแรม Kimpton มีบริการให้ลูกค้า 1,000 คนได้ใช้บริการ Teletheraphy ฟรี หรือ เครื่องดื่ม Powerrade ซึ่งเป็นเครื่องดื่มบำรุงนักกีฬา ได้ออกโฆษณาโดยเน้นเรื่องของ pause is power นำโดย Simone Biles นักกีฬายิมนาสติกของสหรัฐ ที่ถอนตัวจากการแข่งขันบางรายการในโตเกียวเกมส์เมื่อปีที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลว่าจิตใจไม่ได้อยู่ในสภาพที่พร้อมแข่งขัน
➼ ในฝากเอเชีย มีบริษัทในจีนก็ได้พยายามนำเรื่องปัญหาสุขภาพจิตมาเพื่อเข้าถึงลูกค้า โดยมีบริษัทจำนวนมากออกผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้คนจีนผ่อนคลายความเครียดจากสถานการณ์โควิดและทำให้สามารถนอนหลับได้ดีขึ้น
➼ ทั้งนี้ ธุรกิจที่ออกผลิตภัณฑ์ บริการ ที่สามารถเข้าถึงลูกค้าโดยตอบโจทย์เรื่องของสุขภาพจิต ถือเป็นโอกาสทางธุรกิจและให้ความช่วยเหลือต่อสังคม แต่ขณะเดียวก็ถือเป็นประเด็นที่อ่อนไหวที่ธุรกิจต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวังเช่นกัน
อ้างอิง: "ธุรกิจกับการตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพจิต" รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น