ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

6 เทรนด์ผู้บริโภคในปี 2564 (s.189)


#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business 

วิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในปี 2563 ตลอดทั้งปีและยาวต่อเนื่องมาจนถึงปี 2564 นี้ ได้เกิดแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ มากมายซึ่งรวมถึงพฤติกรรมและความคิดของผู้บริโภค ซึ่งเทรนด์ผู้บริโภคที่เราน่าจะได้เห็นในปี 2564 ประกอบด้วย
.
1. บ้านคือศูนย์กลางของชีวิต : โดยเฉพาะโควิด-19 ได้ทำให้บ้านได้กลายเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมต่างๆ ของชีวิต ตั้งแต่การทำงาน การเรียนหนังสือ ความบันเทิงต่าง สังคม เป็นต้น  โดยในปี 2564 นี้ เรายิ่งจะได้เห็นธุรกิจและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ปรับตัวเพื่อตอบโจทย์การอยู่บ้านของบริโภคมากขึ้น
.
2. เทคโนโลยีเพื่อวิถี Next Normal : เทคโนโลยีต่างๆ ถูกนำมาปรับใช้และประยุกต์เพื่อตอบรับผู้บริโภคในการใช้ชีวิตแบบ Next Normal มากขึ้น โดยที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ธุรกิจสุขภาพ การเงิน และรีเทล
.
3. ความจริงที่ไม่มีดราม่า : ในปี 2563 ที่ผ่านมา ผู้บริโภครู้สึกเหนื่อยล้าไปกับข่าวสารและสถานการณ์ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ ภัยพิบัติธรรมชาติ และสงครามโรค ดังนั้นในปี 2564 นี้จึงเป็นปีที่ผู้บริโภคต้องการข้อมูลในรูแบบที่ไม่เป็นดราม่า หรือข้อมูลที่ถูกต้อง พิสูจน์ได้ว่าจริง ไม่เอนเอียง ซึ่งเราน่าจะเห็นการสื่อสารทางการตลาดในรูปแบบจริงใจ เรียนง่าย ไม่ปรุงแต่งมากขึ้น
.
4. เข็มทิศเติมพลังบวก : ในหลายๆ ประเทศ ผู้บริโภคใช้ชีวิตด้วยความกลัว ไม่แน่นอน ซึ่งเป็นปัจจัยให้ในปี 2564 ผู้บริโภคจะมองหาการรับรู้ในปัญหาที่ตนเองเผชิญและความเข้าใจในสถานการณ์ปัจจุบันจากธุรกิจและแบรนด์  ซึ่งธุรกิจจะมีบทบาทเป็นผู้ประคับประคองและเป็นความหวังให้แก่ผู้บริโภค ในการสร้างความหวังเชิงบวกและพร้อมสู้ทุกปัญหาให้ผ่านไปได้
.
5. การตลาดแบบวินเทจ : ผู้บริโภคยุคในช่วงรอยต่อแห่งยุคของวิกฤตมักมองหาความอิสระ หาที่พึ่งทางจิตใจ ความคลาสสิคและความวินเทจจากยุคเก่า  ในแง่ของธุรกิจเราจะได้เห็นการกลับมาของสินค้าที่เลิกผลิตไปแล้วกลับมา คอนเทนท์ที่พาผู้บริโภคย้อนกลับหาความเรียบง่ายและความสุขในวันวาน
.
6. ให้ความแตกต่างเป็นเรื่องธรรมดา : กระแสเรื่องความเท่าเทียบจะเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้คนให้ความสนใจมากขึ้นในปี 2564 นี้ ซึ่งต่อเนื่องมาจากกระแสในปี 2563 ที่ผ่านมาที่ผู้บริโภคตระหนักมากขึ้นในความสำคัญของความเท่าเทียม และหลายธุรกิจก็ได้เริ่มมาเป็นกระบอกเสียงให้กับการรณรงค์เรื่องความเท่าเทียมและเป็นธรรมกันมากขึ้น
.
-- ถ้าชอบช่วยกด Like, ถ้าดีช่วยกด Share เพื่อเป็นข้อมูลให้ทีมงานนำไปปรับปรุงต่อไป ขอบคุณมากครับ 
🙏🙏
อ้างอิง: "จับตา 6 เทรนด์ผู้บริโภค รับมือปี 2564" โดยคุณวฤตดา วรอาคม จาก นสพ.กรุงเทพธุรกิจ 29 ธ.ค.63

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...