ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับกองทุนเงินทดแทน (2) (s.207)


5. ลูกจ้างเสียชีวิตจากการทำงาน ใครเป็นผู้ได้รับสิทธิอย่างไรบ้าง

   ค่าทำศพแก่ผู้จัดการศพ 40,000 บาท ค่าทดแทนร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือนเป็นเวลา 10 ปี แก่ผู้มีสิทธิคือ 1.มารดา  2.บิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย  3.สามีหรือภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย  4.บุตรอายุต่ำกว่า 18 ปี  5.บุตรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่ยังศึกษาอยู่ในระดับที่ไม่สูงกว่าปริญญาตรี ให้ได้รับส่วนแบ่งต่อไปตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่  6.บุตรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป และทุพพลภาพหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ซึ่งอยู่ในอุปการะของลูกจ้างก่อนลูกจ้างถึงแก่ความตายหรือสูญหาย

.

6. แรงงานต่างด้าวได้รับความคุ้มครองจากกองทุนเงินทดแทนหรือไม่

   แรงงานต่างด้าวได้รับความคุ้มครองโดย  1.แรงงานต่างด้าวที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทำงานกับนายจ้างที่มีหน้าที่ขึ้นทะเบียนและจ่ายเงินสมทบสามรรถขึ้นทะเบียนเป็นลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน จะได้รับความคุ้มครองจากกองทุนเงินทดแทน  2.แรงงานต่างด้าวที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายถึงแม้ทำงานกับนายจ้างที่มีหน้าที่ขึ้นทะเบียน และจ่ายเงินสมทบเมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน นายจ้างจะต้องเป็นผู้จ่ายเงินทดแทนให้กับลูกจ้าง  3.แรงงานต่างด้าว ที่ถูกต้องตามกฎหมายและไม่ถูกต้องตามกฎหมายอยู่กับนายจ้างที่ยกเว้นไม่ต้องขึ้นทะเบียนและจ่ายเงินสมทบ เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน นายจ้างจะต้องเป็นผู้จ่ายเงินทดแทนให้กับลูกจ้าง โดยแรงงานต่างด้าวทั้ง 3 กลุ่ม จะได้รับสิทธิประโยชน์ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.เงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 เช่นเดียวกัน

.

7. ลูกจ้างพบอาการผิดปกติหลังออกจากงานสามารถใช้สิทธิกองทุนเงินทดแทนได้หรือไม่

   ในกรณีมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นภายหลังการสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นผลมาจากการทำงานที่ผ่านมา สามารถยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนต่อสำนักงานประกันสังคมที่ลูกจ้างทำงานอยู่หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนาได้ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ทราบการเจ็บป่วย

.

8. การคำนวณเงินทดแทนการขาดรายได้ของกองทุนเงินทดแทนใช้ฐานใด

   คำนวณจากค่าจ้างสูงสุดที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบหารด้วย 12 ซึ่งปัจจุบันค่าจ้างที่นำมาคำนวณเงินสมทบ เท่ากับ 240,000 บาทต่อปี หารด้วย 12 เท่ากับ 20,000 บาท ดังนั้นค่าจ้างสูงสุดในการคำนวณค่าทดแทนรายเดือนเท่ากับ 20,000 บาท

.

🙏🙏

อ้างอิง: สำนักงานประกันสังคม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...