#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business
.
งานวิจัยหนึ่งโดยนักจิตวิทยาชื่อ เลวิส เทอร์แมน ในทศวรรษ 1920 ที่เก็บข้อมูลเด็กในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งล้วนแต่มีคะแนนทดสอบวัดระดับสติปัญญามาตรฐานในระดับที่สูง และติดตามเด็กเหล่านี้ไปจนถึงวัยกลางคน พบว่ามีถึง 1 ใน 4 ที่ได้งานพื้นๆ ที่ไม่ต้องใช้สติปัญญาหรือความคิดสร้างสรรค์มากมาย แถมวิธีการคัดเลือกทำให้เขาต้องตัดคนที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ออกไปถึง 2 คน เพราะคะแนน IQ ไม่ถึงที่กำหนด นอกจากนี้กลุ่มเด็กที่ศึกษากลับไม่มีใครที่ได้เป็นเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารระดับสูงของบริษัทชั้นนำเลย จากการศึกษาถึง 25 ปี เขาจึงสรุปว่า “ระดับความฉลาดและความสำเร็จในชีวิตไม่ได้มีความสัมพันธ์กันโดยตรงสมบูรณ์แบบ”
.
งานวิจัยชิ้นอื่นโดย เอดเวิรด์ เมลูอิส แสดงให้เห็นว่า หากเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ไม่ได้รับความอบอุ่นและไม่มีผู้ใหญ่คอยพูดคุยและตอบสนองด้วยอย่างเหมาะสม จะแสดงอาการบกพร่องของพัฒนาการเชิงสังคมและอารมณ์ ซึ่งกระทบต่อเนื่องกับทักษะด้านภาษา ซึ่งเป็นตัวชี้เป็นชี้ตายของพัฒนาการด้านอื่นๆ ต่อไป
.
แองเจลา ดักเวิร์ธ ชี้ว่าปัจจัยเรื่อง "ความมุ่งมั่น" ที่ทำอะไรได้อย่างยาวนานโดยไม่ล้มเลิกไปก่อน น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญอีกเรื่อง การหาแรงจูงใจที่เหมาะสมจึงช่วยเสริมพัฒนาการของสติปัญญาได้ ได้มีการทดลองในนิวซีแลนด์ที่คณะวิจัยติดตามเด็ก 1,000 คน ตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 32 ปี พบว่า "เด็กที่แสดงลักษณะที่ควบคุมตัวเองได้ดีกว่า มักจะเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีกว่า มีความมั่นคงทางอารมณ์สูงกว่า และมักมีรายได้สูงกว่า"
.
"ความสามารถในการควบคุมตนเอง" จึงเป็นอีกเรื่องที่สำคัญ สอดคล้องกับแนวคิดเรื่อง EQ หรือความฉลาดทางอารมณ์ ดังนั้นเรื่องสำคัญที่ควรตระหนักคือ การควบคุมตัวเองแบบนี้ฝึกฝนให้ติดเป็นนิสัยได้
.
ปัจจัยอื่นได้แก่ "กรอบความคิดที่เติบโตได้" หรือ ทัศนคติที่เปิดกว้างโดยเฉพาะต่อตนเอง โดยแครอล ดีเว็ก ช่วยให้นักเรียนในสหรัฐทำคะแนนเพิ่มได้ง่ายๆ เพียงแค่สอนพวกให้เข้าใจว่า "ความฉลาดไม่ได้ถูกกำหนดไว้แล้ว แต่งานหนักทำให้ฉลาดมากขึ้น" ที่เป็นเช่นนี้เพราะเดิมเด็กเหล่านี้เชื่อว่าตัวเองไม่สามารถทำอะไรที่ดีกว่าเดิมหรือทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้ พวกเขาจึง "ไม่กล้าที่จะฝัน"
.
🙏🙏
อ้างอิง: บทความ "'อัจฉริยะ'อย่างเดียวไม่พอ ต้องมีทักษะชีวิตด้วย" โดย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น