#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ KKP Research บริษัท หลักทรัพย์เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) คุณพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ได้ให้ความเห็นถึงการเริ่มเห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย หลังจากเจอโควิด-19 มา 2 ปีเต็ม แต่อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยเสี่ยงสำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ที่ยังคงต้องติดตามและอาจเป็นปัจจัยฉุดรั้งการเติบโตเศรษฐกิจไทยได้ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ปัจจัย
➼ (1) เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ที่กำลังเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น จากการเปลี่ยนผ่านของโรคระบาดโควิด-19 ที่กำลังเปลี่ยนไปเป็นโรคประจำถิ่นมากขึ้น จากโรคร้ายแรงระดับโลก ในขณะที่ทั่วโลกมีการป้องกันมากขึ้น ทำความรุนแรงของโรคทยอยลดลงเป็นลำดับ
➼ (2) ทิศทางสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยโลกอยู่ในช่วงขาขึ้น หลังจากเจอแรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อที่เร่งสูงขึ้นไปแตะระดับ 7% สูงสุดในรอบ 40 ปี ส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ย และลดงบดุล ทำให้ตลาดคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยไปถึง 2.75% ในปี 2566
➼ สำหรับแนวโน้มของไทย ยังมีความเสี่ยงและโอกาสที่ต้องเผชิญกับปัญหา Stagflation มากขึ้น คือ เงินเฟ้อสูงภายใต้เศรษฐกิจชะลอตัว ภายใต้เศรษฐกิจไทยที่ยังไม่ได้ดีขึ้น ขณะที่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยได้รับผลกระทบหลักจากเศรษฐกิจและรับผลกระทบจากราคาอาหารและพลังงานที่สูงขึ้น
➼ (3) การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ที่อาจกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยได้ เพราะเราพึ่งพาตลาดจีนค่อนข้างมาก ทั้งการส่งออกและการท่องเที่ยว ซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
อ้างอิง: "เคเคพี-ธปท.ห่วง 3 ปัจจัยเสี่ยง ฉุดรั้งเศรษฐกิจไทย ปี 65" กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น