#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ จากสภาพค่าครองชีพที่สูงขึ้นทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความกังวลและได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายหมวดอาหาร (เนื้อสัตว์ ผักสด ไข่ไก่ น้ำมันพืช อาหารปรุงสำเร็จ และอาหารนอกบ้าน) ค่าสาธารณูปโภค (ค่าไฟฟ้า) และค่าเดินทาง (ค่าน้ำมันและค่าขนส่งสาธารณะ)
➼ จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่าคนกรุงเทพฯ ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มรายได้อื่น ซึ่งผู้ตอบคำถาม 36% มองว่ามีค่าใช้จ่ายปรับเพิ่มขึ้นกว่า 20% เมื่อเทียบกับช่วงปลายปีก่อนที่จะมีการปรับขึ้นราคาสินค้าต่างๆ
➼ ค่าครองชีพที่ทยอยปรับสูงขึ้นส่งผลให้ในระยะสั้น คนกรุงเทพฯ วางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยจะเลือกใช้จ่ายเฉพาะที่จำเป็น ลดหรือชะลอการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยและสินค้าคงทน รวมไปถึงลดกิจกรรมสังสรรค์
➼ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องการให้ภาครัฐออกมาตรการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน 3 อันดันแรก ได้แก่ ควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในหลายประเภทมากขึ้น เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ และ ขยายมาตรการช่วยเหลือค่าเครองชีพด้านสาธารณูปโภค (ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา)
➼ สำหรับภาคเอกชน ผู้บริโภคต้องการให้ผู้ประกอบการชะลอการปรับขึ้นราคาสินค้า หรือลดปริมาณสินค้าแทนการปรับขึ้นราคาหากจำเป็น และเพิ่มการจัดโปรโมชั่นกิจกรรมลดราคาสินค้าให้ถี่ขึ้นโดยเฉพาะสินค้าที่จำเป็น
➼ คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่มองว่าสถานการณ์ค่าครองนี้ที่ปรับสูงขึ้น น่าจะยังไม่คลี่คลายในระยะสั้นและกว่า 50% คาดว่าปัญหาดังกล่าวจะลากยาวมากกว่า 1 ปี. ทั้งนี้ ภาครัฐและเอกชนควรเร่งมือร่วมกันแก้ไขปัญหาอุปทานขาดแคลนให้ตรงจุด ตลอดจนควรเพิ่มโอกาสแข่งขันของผู้ประกอบการรายย่อยในตลาดควบคู่ไปด้วย
อ้างอิง: "คนกรุงเทพฯ ปรับพฤติกรรมรับค่าครองชีพพุ่ง" ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น