#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
.
➼ ในปี 2565 นี้ ประเทศไทยจะเป็นประเทศกำลังพัฒนาแรกๆ ที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ คือ การที่มีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นประมาณร้อยละ 20 ของประชากรไทยทั้งหมด
➼ ทั้งนี้ ผู้สูงอายุแต่ละคนโดยเฉลี่ยจะพึ่งพิงรายได้จากบุตรหลานได้น้อยลง และเมื่อประกอบกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่มีมูลค่าต่ำกว่าเส้นความยากจน ผู้สูงอายุหลายคนน่าจะประสบปัญหาเงินไม่พอใช้ในยามชรา โดยปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต
➼ กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) โดยเมื่อพิจารณาจากร่างกฎหมาย กบช. ที่ผ่านการพิจารณาของ ครม. ในเดือน มี.ค.64 กฎหมายฉบับนี้จะเทียบเท่ากับการบังคับให้แรงงานในระบบทุกคนต้องมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพรองรับ
➼ อย่างไรก็ดี แม้กลไก กบช. จะมีเจตนาที่ดี แต่ผลข้างเคียงของนโยบายนี้คือการเพิ่มต้นทุนของการอยู่ในระบบของแรงงาน หากอิงจากระบบประกันสังคมไทยที่โดยชื่อแล้วเป็นภาคบังคับ แต่ในทางปฏิบัตินั้นนายจ้างและลูกจ้างยัง "เลือกได้" ว่าจะเข้าระบบหรือไม่
➼ โดยการเพิ่มต้นทุนของ กบช. มีแนวโน้มจูงใจให้บริษัทเอกชนไม่จดทะเบียนลูกจ้างเข้าระบบ หรือจูงใจให้แรงงานบางส่วนหลบหนีออกไปเป็นแรงงานนอกระบบ
➼ สรุปคือ นโยบายใหม่ของภาครัฐอย่าง กบช. แม้จะบรรเทาปัญหาสำหรับแรงงานบางส่วนได้ แต่ก็เป็นการเพิ่มต้นทุนการอยู่ในระบบไปพร้อมกัน ดังนั้นภาครัฐควรเพิ่มประสิทธิภาพฐานข้อมูลและการตรวจสอบแรงงาน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่แรงงานจะออกนอกระบบ ผู้สูงวัยไทยจะได้มีเงินใช้จ่ายเพียงพอในยามชรา
.
อ้างอิง: "ปิดช่องโหว่ กบช. ลดเสี่ยงแรงงานออกนอกระบบ" ไตรสรณ์ ถิรชีวานนท์, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น