#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
.
➼ การใช้โซเชียลมีเดียในการพิจารณาผู้สมัครงานในปัจจุบันถือเป็นเรื่องปกติที่องค์กรมักจะใช้ในการหาข้อมูลเพิ่มเติมในการคัดกรองผู้สมัคร โดยเฉพาะผู้สมัครที่อยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการรับเข้าทำงาน
➼ ได้มีการสำรวจโดย CareerBuilder ที่ทำการสอบถามองค์กร 1,000 แห่งในสหรัฐอเมริกาเมื่อ 3 ปีก่อน พบว่าเกือบ 70% ขององค์กรต่างๆ ได้ใช้ข้อมูลในโซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจต่อการคัดเลือกผู้สมัคร ทั้งนี้โดยการพิจารณาจากเนื้อหาที่โพสต์ ความสนใจของผู้สมัครจากการติดตามหรือการกด like เนื้อหาต่างๆ รวมถึงการเชื่อมโยงของเพื่อนในโลกออนไลน์
➼ ในโซเชียลมีเดียมีข้อมูลผู้สมัครที่สามารถสังเกตได้โดยทันทีหากผู้สมัครทำเป็นประจำ เช่น ความสนใจในบางเรื่องที่เขาอาจโพสต์บ่อยๆ หรือติดตามบางกลุ่ม ความสามารถในบางด้านที่สังเกตได้จากข้อความต่างๆ งานอดิเรกที่ชอบ รวมทั้งอาจได้พบด้านที่ไม่เหมาะสมของผู้สมัครด้วยเช่นกัน
➼ ในอดีต การคัดกรองจากโซเชียลมีเดียมักเน้นเฉพาะที่เกี่ยวกับการทำงาน เช่น LinkedIn แต่ปัจจุบันเส้นแบ่งในโลกออนไลน์ระหว่างการทำงานและเรื่องส่วนตัวเริ่มแยกกันยากขึ้น ดังนั้นการตรวจสอบโซเชียลมีเดียของผู้สมัครควรต้องทำบนทุกแพลตฟอร์ม เช่น Facebook, Instagram, Twitter หรือ TikTok
➼ การตรวจสอบผู้สมัครควรต้องทำอย่างมีระบบ มีความเป็นมืออาชีพ และต้องเน้นเฉพาะข้อมูลที่เป็นสาธารณะ เพื่อไม่ให้ละเมิดความเป็นส่วนตัว ทั้งนี้ควรเริ่มกำหนดนโยบายขององค์กรว่าจะมีการคัดกรองผู้สมัครในขั้นตอนใดซึ่งอาจไม่ใช่กับผู้สมัครทุกคน และต้องมีการกำหนดคำถามหรือสิ่งที่ควรตรวจสอบในแต่ละตำแหน่งให้ชัดเจนล่วงหน้าก่อนที่ทำการตรวจสอบ
.
อ้างอิง: "การตรวจสอบ โซเชียลมีเดีย ในการพิจารณาผู้สมัครงาน" ธนชาติ นุ่มนนท์, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น