#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ คณะกรรมการค่าจ้างได้มีมติปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2565 โดยเตรียมนำเรื่องเข้าที่ประชุม ครม. และเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 ต.ค. 65. โดยได้แบ่งการปรับขึ้นค่าจ้างเป็น 9 ช่วง ค่าจ้างต่ำสุดอยู่ที่ 328 บาท สูงสุด 354 บาท.
➼ ประเทศไทยมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศครั้งใหญ่ล่าสุดในปี 2555-2556 โดยปรับให้อยู่ในระดับเดียวกันทั่วประเทศที่ 300 บาทต่อวัน และเริ่มมีการปรับอีกครั้งรายจังหวัดในปี 2560 เรื่อยมา จนการปรับครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี 2562.
➼ ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี ค่าจ้างขั้นต่ำปรับขึ้นอยู่ที่ 13-36 บาทหรือคิดเป็น 4-12% ขณะที่ดัชนีรายงานเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นที่ 6.3%
➼ ทั้งนี้ ในปี 2565 เศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงการฟื้นตัวจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 และเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อ ระดับราคาสินค้ามีทิศทางสูงขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 จนถึงปัจจุบัน โดยล่าสุดอัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ค. อยู่ที่ 7.61%.
➼ สถานการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดแรงกดดันในฝั่งผู้ผลิต และยังส่งผลกระทบต่อรายได้ที่แท้จริงซึ่งไปกดดันในส่วนของกำลังซื้อฝั่งประชาชนและแรงงาน.
➼ ทั้งนี้ ค่าจ้างขั้นต่ำจะมีผลในไตรมาส 4/65 เป็นต้นไป ขณะที่ผู้ผลิตคงจะไม่สามารถส่งผ่านต้นทุนทั้งหมดไปยังผู้บริโภคได้ทันที ซึ่งคาดว่าจะเห็นการส่งผ่านต้นทุนค่าแรงจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคมากขึ้นในปีหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมที่พึ่งพาแรงงานในสัดส่วนสูง เช่น อุตสาหกรรมเกษตร ค้าปลีก โรงแรม ร้านอาหาร ก่อสร้าง เป็นต้น.
อ้างอิง: "โจทย์ท้าทาย การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ" ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น