#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ Demographic Shift ถือเป็นหนี่งใน Mega Trend ที่ทุกฝ่ายต่างให้ความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคธุรกิจที่จะต้องนำปัจจัยเชิงโครงสร้างประชากรมาประกอบการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจและการวางกลยุทธ์ขององค์กรนั้นเอง.
➼ องค์กรสหประชาชาติได้เปิดเผยการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างประชากรโลกที่สำคัญ อาทิ เช่น การขยายตัวของประชากรวัยแรงงานในภูมิภาคแอฟริกา การอพยพของประชาชนโลกไปยังภูมิภาคเอเชีย และการย้ายเข้ามาอาศัย/ทำงานในตัวเมือง เป็นต้น.
➼ ทั้งนี้ องค์กรสหประชาชาติยังได้คาดการณ์จำนวนประชากรโลกที่จะเพิ่มขึ้นถึง 9.7 พันล้านคน ภายในปี 2050 โดยผู้สูงอายุจะเป็นกลุ่มประชากรโลกที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดใน 30 ปี ข้างหน้า. ทำให้สังคมผู้สูงอายุ (Aging หรือ Aged Society) นับเป็นอีกการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่หลายประเทศมิอาจมองข้าม.
➼ ประเทศไทยที่กำลังพัฒนาไปสู่การเป็นสังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์ (Aged Society) ภายในปี 2030. โดยปัจจุบัน ปัจจุบันประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปีอยู่ราว 9 ล้านคน ซึ่งสูงเป็นอันดับสองในภูมิภาคอาเซียน.
➼ โดยการที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่เริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นประเทศแรกๆ ประเทศไทยจึงควรคว้าโอกาสจากการก้าวไปสู่สังคมสูงวัยก่อนประเทศอื่นๆ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการให้บริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป.
อ้างอิง: "Demographic Shift" จรีพร จารุกรสกุล, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น