#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ ผลวิจัยของ Center for Creative Leadership พบว่าเอเชียจะเป็นตลาดที่เติบโตใหญ่ที่สุดในอนาคตและอาจเป็นผู้ส่งออกแรงงานและความสามารถที่ใหญ่ที่สุดในทศวรรษต่อจากนี้.
➼ การศึกษาพบผู้นำคนเอเชียมีจุดเด่นหลายประการ อาทิเช่น การมีจรรยาบรรณในการทำงาน การแสดงความเห็นอกเห็นใจและความอ่อนน้อมถ่อมตน และเปิดรับความหลากหลาย. อย่างไรก็ดี จุดเด่นเหล่านั้นยังไม่เพียงพอต่อการขึ้นไปสู่การเป็นผู้นำองค์กรระดับโลก.
➼ องค์กรไทยจำเป็นต้องเปลี่ยนแนวคิดการมองคนเก่งและปรับวัฒนธรรมองค์กร 7 ประการ เพื่อขับเคลื่อนผู้นำองค์กร ดาวเด่น ให้ไปสู่สนามแข่งขันผู้นำโลก.
➼ (1) จับสัญญาณเป็น (Sense Making) - ผู้นำระดับโลกต้องสามารถจับสัญญาณแห่งอนาคต เป็นผู้นำที่มองภาพรวมของอนาคต คิดไกลเกินกว่าที่หัวหน้าบอก. (2) กล้า (Courage) - เปลี่ยนจากเป็นผู้นำที่มีคำตอบทุกปัญหา กลายเป็นผู้นำที่กล้าลองผิดลองถูก.
➼ (3) สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น (Inspire Others) - จะไปสู่ระดับโลก คุณต้องเปลี่ยนเป็นผู้สร้างแรงบันดาลพลังให้ผู้อื่นโดยแสดงออกถึงความหลงใหล มุ่งมั่น และตั้งใจในการทำภารกิจเพื่อผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ (4) นำด้วยเป้าหมายร่วม (Purpose Driven) - ผู้นำระดับโลกต้องทำให้ผู้คนรู้สึกว่างานที่ทำอยู่เป็นสิ่งที่มีคุณค่าน่าภาคภูมิใจ.
➼ (5) สนับสนุนความหลากหลายและยอมรับความแตกต่าง (Diversity & Inclusion) - การพาองค์กรไปสู่ระดับโลก ต้องการความหลากหลาย ตอบสนองเชิงบวกต่อความแตกต่าง ยอมรับความเป็นปัจเจกบุคคล. (6) ผนึกพลัง (Collaboration) - หมดยุคของผู้นำแบบ Hero แต่ต้องการผู้นำที่สร้างบรรยากาศแห่งความสามัคคี สนับสนุนการช่วยเหลือระหว่างบุคคล.
➼ (7) เป็นผู้นำตัวจริง (Authenticity) - ผู้คนต้องการผู้นำที่แสดงออกโดยวาจาและการกระทำที่สอดคล้องกับค่านิยมอันดีขององค์กร ยืนหยัดบนความถูกต้อง.
อ้างอิง: "เมื่อเวทีโลกไม่มีที่ยืน คนเก่งแบบเดิมๆ" ดร.สุทธิโสพรรณ ช่วยวงศ์ญาติ, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น