#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ รายได้ครัวเรือนภาคเกษตรในปัจจุบันมีการเติบโตอย่างต่ำเมื่อเทียบกับในอดีต โดยในช่วงปี 2001-2010 ระดับการเติบโตของรายได้ภาคเกษตรอยู่ที่ 5.9% ต่อปี และลดลงเหลือก 2.9% ต่อปีในช่วงปี 2010-2020. สวนทางกับการเติบโตของรายได้นอกภาคเกษตรที่ปรับตัวอยู่ที่ 7.3% ในช่วงเดียวกัน.
➼ ทั้งนี้ การเพิ่มรายได้ให้ภาคเกษตรครัวเรือนไทย สามารถทำได้โดยใช้ 3 แนวทาง คือ 1) การเพิ่มปริมาณผลผลิต ผ่านการยกระดับผลผลิตต่อไร่ 2) การปรับโครงสร้างการผลิตไปสู่สินค้าเกษตรมูลค่าสูง และ 3) การยกระดับสินค้าเกษตรที่เกษตรกรได้รับ.
➼ การใช้ AgriTech กำลังถูกนำมาใช้ในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการฟาร์ม ตั้งแต่เพาะปลูก ไปจนถึงการตลาด. โดยตัวอย่างที่น่าสนใจได้แก่ การใช้โดรนทำการเกษตร แพลตฟอร์มเกษตรดิจิทัล และเทคโนโลยีการเงินสำหรับการเกษตร.
➼ ความต้องการบริโภคสินค้าเกษตรมูลค่าสูงกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ สอดคล้องกับเทรนด์รักสุขภาพและการเพิ่มขึ้นของรายได้ประชากร. โดยกลยุทธ์การพัฒนาเชิงคลัสเตอร์ ซึ่งเน้นส่งเสริมการประสานงานกันอย่างต่อเนื่องในพื้นที่หนึ่งๆ จะสามารถช่วยให้เกษตรกรและผู้แปรสินค้าเกษตรเข้าถึงตลาดสินค้ามูลค่าสูงได้.
➼ ทั้งนี้ SCB EIC พบว่า AgriTech และการพัฒนาเชิงคลัสเตอร์ มีศักยภาพที่จะช่วยเพิ่มรายได้ภาคเกษตรราว 9.4 แสนล้านบาท ภายในปี 2030 โดยกว่า 7.4 แสนล้านบาท เป็นผลจากการปรับโครงสร้างการผลิตไปสู่พืชมูลค่าสูง ในขณะที่การเพิ่มปริมาณผลผลิตจะมีศักยภาพในการเพิ่มรายได้เพียง 1.9 แสนล้านบาท.
อ้างอิง: "ลืมตาอ้าปาก แก้อาการโตช้าของรายได้ภาคเกษตรด้วย AgriTech และกลยุทธ์การพัฒนาเชิงคลัสเตอร์" SCB EIC
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น