#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ Web 3.0 คือ ยุคของอินเตอร์เน็ตแบบไม่มีศูนย์กลาง ซึ่งเป็นการพัฒนาจาก Web 1.0 ที่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่เป็นผู้รับข้อมูล และ Web 2.0 ที่ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบและมีปฏิสัมพันธ์กันได้บนเว็บผ่านแพลตฟอร์มของตัวกลาง เช่น Google หรือ Apple ขณะที่ Web 3.0 จะเป็นการที่ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ไม่ต้องมีคนจัดการที่เป็นส่วนกลางโดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน.
➼ ประเทศญี่ปุ่นได้มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งเสริมธุรกิจเกี่ยวกับ Web 3.0 โดยมีการประกาศ Basic Policy on Economic and Fiscal Management and Reform 2022 เมื่อ มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งกล่าวถึงนโยบายในการสร้างและพัฒนาสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการพัฒนา Web 3.0.
➼ ประเทศญี่ปุ่นมีทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้ เช่น เกมและอนิเมะ จึงมีโอกาสที่สามารถเป็นผู้นำของโลกด้านธุรกิจ NFT หรือ Web 3.0. อย่างไรก็ดี สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับ NFT ในประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบันยังถือว่ามีปัญหาอยู่มาก.
➼ ในมุมปัญหาทางกฎหมายได้มีการกล่าวถึงใน NFT White Paper ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ (1) นโยบายที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาธุรกิจ NFT เช่น ในกรณีที่กลุ่มธนาคารจะทำธุรกิจด้าน NFT ขอบเขตกิจกรรมที่สามารถทำได้ภายใต้กฎหมายนั้นไม่ชัดเจน.
➼ (2) นโยบายที่จำเป็นเพื่อคุ้มครองเจ้าของคอนเทนต์ เช่น ความไม่ชัดเจนของสิทธิของนักกีฬาหรือนักแสดงสำหรับค่าสิทธิที่จะได้จาก NFT ในตลาดรอง. (3) นโยบายที่จำเป็นเพื่อคุ้มครองผู้ใช้งาน เช่น สถานะทางกฎหมายและสิทธิที่จะได้มาเมื่อได้มา (ครอบครอง) ซึ่ง NFT นั้น ยังเข้าใจได้ยากอยู่สำหรับผู้บริโภคทั่วไป.
➼ (4) นโยบายที่จำเป็นสำหรับการสร้างระบบนิเวศเพื่อสนับสนุนธุรกิจ NFT เช่น สถานะทางกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับสำหรับองค์กรอัตโนมัติแบบกระจายศูนย์ (DAO). (5) นโยบายที่จำเป็นสำหรับการรักษาผลประโยชน์ของสังคม เช่น NFT อาจถูกนำไปใช้เพื่อการฟอกเงินหรือก่อการร้าย แต่ก็ยังไม่มีกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการยืนยันตัวตน ฯลฯ เพื่อป้องกันความเสี่ยงเหล่านั้น.
อ้างอิง: "รัฐบาลญี่ปุ่น พร้อมลุย Web 3.0" ภูมิภัทร/ภาณุพันธ์ อุดมสุวรรณกุล, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น