#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ มูลค่าตลาด e-commerce ในปี 2021 อยู่ที่ 3.7 แสนล้านบาท คิดเป็น 53% CAGR เติบโตเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2019 ที่มีมูลค่า 1.6 แสนล้านบาท. โดยข้อมูลจาก Kerry Express พบว่าปริมาณขนส่งพัสดุของ Kerry Express ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2021 เติบโตกว่า 48% YoY อย่างไรก็ดี การเติบโตนี้รวมถึงการใช้กลยุทธ์ราคาเชิงรุก
➼ กลุ่มสินค้า 5 อันดับแรกที่ผ่าน e-commerce เพิ่มขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้แก่ (1) กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค - FMCG (2) กลุ่มอาหารสด (3) กลุ่มสินค้าเกี่ยวกับบ้าน (4) กลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม และ (5) กลุ่มสินค้าแฟชั่น
➼ ในปัจจุบันค่าขนส่งมีการปรับตัวลดลงอย่างมาจากเหลือทั่วไปที่ 15-20 บาทต่อชิ้น จากอัตราค่าส่งช่วงเริ่มต้นในปี 2016-2018 ซึ่งอยู่ที่ 35-40 บาทต่อชิ้น อีกทั้งค่าขนส่งยังจะลดลงไปอีกในช่วงการทำโปรโมชั่น
➼ ในปี 2018 การแข่งขันในตลาดขนส่งพัสดุประกอบด้วยผู้เล่นรายใหญ่เพียง 3 รายซึ่งครองส่วนแบ่ง 90% แต่ในปี 2020 พบว่ามีผู้เล่นรายใหญ่เพิ่มเป็น 7 ราย ทำให้การแข่งขันเป็นไปอย่างรุนแรงขึ้น
➼ ผู้ประกอบการขนส่งพัสดุได้มีการขยายรูปแบบการให้บริการเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้น เช่น การให้บริการไม่มีวันหยุด, การรับพัสดุถึงหน้าบ้าน, การขนส่งสินค้าแบบภายในวันเดียวหรือวันถัดไป, ระบบติดตามพัสดุแบบเรียลไทม์, การให้บริการเก็บเงินปลายทาง เป็นต้น
➼ การแข่งขันยังขยายวงกว้างเนื่องจากผู้ประกอบการขนส่งพัสดุยังต้องแข่งเปิดรับแฟรนไซส์กับธุรกิจร้านค้ารวมขนส่งพัสดุซึ่งเป็นตัวกลางรับพัสดุที่รวมพัสดุผู้ประกอบการขนส่งหลายรายมาไว้ในระบบเดียวกัน เช่น SHIPPOP, ShipSmile, Mysave และ Quickservice เป็นต้น
อ้างอิง: "เกาะติดตลาดขนส่งพัสดุ 2022 เร่งปรับตัวและขยายสู่ตลาดใหม่ในวันที่การแข่งขันยังรุนแรงต่อเนื่อง" SCB EIC
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น