#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ Parcel Delivery ของประเทศไทยมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องในอัตราประมาณ 17% YoY คิดเป็นมูลค่า 1.06 แสนล้านบาทในปี 2022 และปริมาณขนส่งพัสดุเป็นประมาณ 7 ล้านชิ้นต่อวัน
➼ การแข่งขันด้านราคาของธุรกิจขนส่งมีแนวโน้มที่รุนแรงต่อเนื่องจากการที่ผู้เล่น Kerry Express ได้ปรับแผนใช้กลยุทธ์ราคาเข้าสู้เพื่อขยายส่วนแบ่งตลาดตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2021 ทำให้ยอดจัดส่งของบริษัทเพิ่มขึ้นในไตรมาส 1 ปี 2022 ถึง 46% YoY
➼ EIC ประเมินว่าการลดลงของอัตราค่าขนส่งพัสดุจะค่อนข้างจำกัดเนื่องจากอัตราค่าขนส่งพัสดุในปัจจุบันได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการหลายรายเริ่มให้บริการไม่คุ้มทุนแล้ว และมีบางรายที่ยังขาดทุนต่อเนื่องหลายปีหรือแม้กระทั่งปิดกิจการ
➼ เทรนด์การบริการที่กำลังเติบโตและจะกลายเป็นโอกาสให้แก่ผู้ประกอบการขนส่งพัสดุในการขยายตลาด ได้แก่ (1) เทรนด์การให้บริการขนส่งพัสดุระหว่างประเทศ - เพื่อรองรับเทรนด์การซื้อสินค้า E-Commerce ข้ามพรมแดน (cross border E-commerce)
➼ (2) เทรนด์การให้บริการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ (bulky) หรือแบบไม่เต็มคันรถ (less than truckload: LTL) - เป็นการให้บริการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่และมีน้ำหนักค่อนข้างมากแบบรายชิ้น เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ อุปกรณ์ออกกำลังกาย ของใช้สัตว์เลี้ยง เฟอร์นิเจอร์ ต้นไม้ เป็นต้น
➼ (3) เทรนด์การให้บริการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนแบบครบวงจร (integrated logistics and supply chain service) - ตั้งแต่ขั้นตอนการบริการจัดเก็บสินค้าที่คลังสินค้า บริการแพ็กสินค้า จนถึงบริการขนส่งไปยังผู้บริโภค และจะกลายเป็นบริการพื้นฐานที่ผู้ประกอบการขนส่งทุกรายต้องมีเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ขายออนไลน์
➼ (4) เทรนด์การให้บริการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิแบบด่วนทั้งสินค้าแบบแช่เย็นและแช่แข็ง - เช่น อาหารสด อาหารทะเล ผักและผลไม้ เป็นต้น เพื่อรองรับเทรนด์การขายสินค้าเหล่านี้โดยตรงจากแหล่งผลิตผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียที่เพิ่มสูงขึ้น
อ้างอิง: "เกาะติดตลาดขนส่งพัสดุ 2022 เร่งปรับตัวและขยายสู่ตลาดใหม่ในวันที่การแข่งขันยังรุนแรงต่อเนื่อง" SCB EIC
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น