#จดมาสรุปเป็นข้อ #anotherSideOfStory #busguy
➼ ก.ล.ต.ของสหรัฐอเมริกาได้มีการประกาศว่าจะกำหนดข้อบังคับให้บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ต้องรายงานข้อมูลการปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากิจกรรมต่างๆ ขององค์กรใน 3 ประเภท
➼ (1) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรงจากกระบวนการผลิตหรือกิจกรรมหลักขององค์กร (2) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงานภายในองค์กร และ (3) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมด้านอื่นๆ เช่น การเดินทางของพนักงาน การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ และครอบคลุมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในซัพพลายเชนที่เป็นคู่ค้า
➼ จากเรื่องดังกล่าวเป็นสัญญาณชัดเจนว่าตลาดทุนกำลังเดินไปสู่ก้าวสำคัญในการใช้กลไก เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาโลกเร้อนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
➼ Carbon Accounting หรือการทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกในระดับองค์กร ถือว่าเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนยุ่งยากเริ่มตั้งแต่การกำหนดกรอบของข้อมูล การเก็บข้อมูล การคำนวณค่าก๊าซเรือนกระจก และการรายงานข้อมูล
➼ "อะไรก็ตามที่วัดผลไม่ได้ ก็ไม่มีทางบริหารจัดการได้" คือหัวใจของการแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อน ทั้งนี้ข้อมูลจาก Pitchbook ระบุว่า เม็ดเงินจาก VC กำลังไหลเข้า startup ในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านถึง 5 เท่า
➼ Climate Software จึงเป็นเซคเตอร์ที่มาแรงของปีนี้ ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจ โดยอนาคตการแก้ไขปัญหาโลกร้อนจำเป็นต้องพึ่งเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ
อ้างอิง: "Carbon Accounting" ต้องหทัย กุวานนท์, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น