ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2020

เขตพัฒนาเศษฐกิจพิเศษ คืออะไร ? (s.139)

  เขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือ Special Economic Zone (SEZ) เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่บริเวณชายแดน ซึ่งเป็นบริเวณที่ถือเป็นประตูเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน วัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี จากการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมถึงแก้ปัญหาความมั่นคง   พื้นที่ของเศรษฐกิจพิเศษนี้จะจัดตั้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนที่มีพื้นที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา มาเลเซีย โดยมีจังหวัดที่เกี่ยวข้องรวม 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย กาญจนบุรี นราธิวาส หนองคาย นครพนม ตราด สงขลา ตาก สระแก้ว และมุกดาหาร สิทธิประโยชน์กรณีของ BOI ประกอบด้วย ได้แก่ > ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมจากปกติ 3 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน 8 ปี > กรณีกลุ่ม A1/A2 ซึ่งได้รับยกเว้นภาษี 8 ปีอยู่แล้ว จะได้รับการลดหย่อนเพิ่มร้อยละ 50 อีก 5 ปี  > ยกเว้นอาการขาเข้าเครื่องจักร, วัตถุดิบที่ใช้ผลิตเพื่อการส่งออก > อนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ > หักค่าติดตั้งหรือค่าก่อสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวกได้ 25% ของเงินลงทุน นอกเหนือจากการหักค่าเสื่อ...

ดัชนีผู้นำองค์กรไทย คุณลักษณะแบบไหนที่จะพาองค์กรไปสู่สากล (s.138)

หากเราต้องการปรับปรุงหรือต้องการรู้สถานะอะไรบางอย่างสิ่งที่เรามักจะใช้กันคือตัวชี้วัดที่บ่งบอกถึงสถานะสิ่งที่เราอยากจะวัด เช่น หากต้องการทราบเรื่องสุขภาพก็จะมีตัวชี้วัดต่างๆ ได้แก่ คอเลสเตอรอล ระดับความดัน หรือหากต้องการทราบเรื่องผลการดำเนินงานของบริษัทก็อาจใช้ตัวชี้วัดเป็นยอดขาย ผลกำไร เป็นต้น  อย่างไรก็ดีดัชนีชี้วัดสำหรับ "ผู้นำ" ซึ่งวัดถึงผู้นำในการพาองค์กรไปสู่ระดับสากลนั้น อาจเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนทั่วไป ซึ่งที่จริงแล้วได้มีการพยายามหาตัวชี้วัดอย่างมากมายในต่างประเทศ  ครั้งนี้ขอนำบทความจาก ดร.สุทธิโสพรรณ ช่วยวงศ์ญาติ ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 21 ก.ย.63 เรื่อง "ผู้นำเก่ง ดูจากอะไร? (ตอนที่ 1)" ที่กล่าวถึงคุณลักษณะของผู้นำไทยใน 6 มิติที่เป็นคุณลักษณะเฉพาะสำหรับคนไทยกับการก้าวสู่สากล ซึ่งมีดังนี้ - 1. นักสำรวจความแปลกใหม่ - ผู้นำที่เห็นโอกาส กล้าเสี่ยงทำเรื่องใหม่ สามารถรับมือกับความผันผวนความไม่แน่นอน 2. นักรบผู้พิชิตความสำเร็จ - ผู้นำที่ผลักดันให้เกิดผลลัพธ์ภายใต้การแข่งขันที่รุนแรง โดยการสร้างความแตกต่างเพื่อให้เกิดความได้เปรียบ 3. นักสื่อสารผู้เข้าใ...

เศรษฐกิจ U V W Nike และ K ? (s.137)

หากใครที่ติดตามข่าวเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจะพบว่าในช่วงเวลานี้ได้มีการกล่าวถึงเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ เช่น แบบ U, แบบ V, แบบ W, แบบที่ผู้ว่าแบงค์ชาติพูดถึง Nike และ ก็ยังมีแบบ K ซึ่งน่าจะสร้างความมึนงงให้กับผู้อ่านไม่มากก็น้อย เพราะไหนเอาแค่เรื่องของพื้นฐานเศรษฐกิจที่ดูจะเป็นเรื่องที่ยากแล้ว ยังมาเจอตัวอักษรแปลกตามมาอีกในช่วงนี้ ซึ่งครั้งนี้เราจะมาอธิบายกันว่ามันคืออะไร - ตัวหนังสือภาษาอังกฤษต่างๆ นี้ เราใช้เพื่อเปรียบเปรยลักษณะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งเราได้ยินบ่อยในช่วงของ COVID-19 ระบาด ประมาณ 2-3 เดือนที่ผ่านมา โดย V หมายถึงการที่เศรษฐกิจตกลงอย่างรุนแรง แต่ก็ฟื้นกลับตัวอย่างรวดเร็ว  U หมายถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ต้องใช้เวลายาวนานก่อนที่กลับขึ้นมา  W เป็นการฟื้นตัวแบบสะดุดมีขึ้นมีลงเป็นบางช่วง และล่าสุดที่ทาง ธปท. ได้กล่าวถึงแบบ Nike ซึ่งจะเปรียบถึงการที่เศรษฐกิจตกลงอย่างเร็วและการฟื้นตัวเป็นแบบลากยาวค่อยๆ ดีขึ้นไป - แต่ตัวหนังสือที่สร้างความงงงวยที่สุดน่าจะเป็นตัว K ซึ่งบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่ปรับตัวลงอย่างรวดเร็วเหมือนแกนตั้งของตัว K ในขณะที่จังหวะฟื้นตัวกลับมีการแตกเส้นทาง...

เศรษฐกิจไทย ความน่าเป็นห่วงที่ต้องติดตาม (s.136)

  ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ได้ลงบทความในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 ก.ย.63 ในหัวข้อ "ความน่าเป็นห่วงของเศรษฐกิจ (1)" ซึ่งได้กล่าวถึงเศรษฐกิจไทยที่เปรียบเหมือนกับคนแก่ที่ตอนนี้กำลังมีปัญหาสุขภาพรุมเร้า ตั้งก่อนช่วง COVID-19 ระบาด และเหมือนจะหนักขึ้นภายหลังจากการระบาดโดยพิจารณาได้จาก GDP ของประเทศที่ขยายตัวเพียง 2-4% ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นบทความที่น่าสนใจและตรงประเด็นมาก จึงขออนุญาตสรุปปัจจัยที่กล่าวถึงไว้ ดังนี้ - 1. การแข็งค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่องในช่วง 6-7 ปี ที่ผ่านมา 2. รถรถไฟฟ้าที่กำลังจะเข้ามาแทนที่รถยนต์สันดาป ซึ่งประเทศไทยนั้นถือเป็นฐานการผลิตรถยนต์สันดาปและเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ 3. โครงสร้างประชากรไทยมีอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยประชากรที่อยู่วัยทำงานลดลงเรื่อยมาตั้งแต่ 2-3 ปีที่แล้ว ทำให้มีแนวโน้มขาดแคลนแรงงานในอนาคต 4. ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยกำลังหมดลง และทำให้ประเทศไทยต้องหาแหล่งพลังงานใหม่ นำเข้าเพิ่มขึ้น 5. การท่องเที่ยวจากต่างประเทศถือเป็นอุตสาหกรรมเด่น ซึ่งหดตัวอย่างแรง กระทบทั้งการจ้างงานและรายได้จากอุตสาหกรรม 6. การลงทุนใน EEC ซึ่งถือเ...

4C กับ CSR (s.135)

  กิจกรรมเพื่อสังคม หรือที่เราเรียกกันว่า "CSR" (Corporate Social Responsibility) เป็นกิจกรรมที่ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญในปัจจุบันสำหรับองค์กร เนื่องจากผู้บริโภคมีแนวโน้มจะซื้อสินค้าหรือใช้บริการจากบริษัทที่พวกเขารู้สึกดีหรือองค์กรที่มีการช่วยเหลือสังคม. และจากผลของ COVID-19 ยิ่งทำให้ความสำคัญของ CSR ยิ่งดูมีความสำคัญมากขึ้นไปอีก โดยกลุ่มที่ส่วนได้เสียในเรื่องดังกล่าวประกอบด้วย - 1. Corporate (องค์กร) - ตัวองค์กรเองเป็นส่วนหนึ่งของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกิจกรรม CSR ซึ่งรวมถึงบุคลากรและพนักงานของบริษัท 2. Consumer (ผู้บริโภค) - หากผู้บริโภคไม่มีความสุขหรือรู้สึกดีต่อสินค้าหรือบริการ องค์กรก็จะไม่สามารถดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนได้ กิจกรรม CSR จึงควรครอบคลุมถึงการช่วยเหลือผู้บริโภคให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 3. Citizen (ผู้คนในสังคม) - คนในสังคมมีส่วนต่อการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ ดังนั้นการสร้างแรงกระเพื่อมทางเศรษฐกิจจึงเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อก่อให้เกิดการใช้จ่ายหมุนเวียนเป็นวัฏจักรในระบบเศรษฐกิจ 4. Country (ประเทศ) - ประเทศจำเป็นต้องมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก การดำเนินกิจกรรม CS...

เศรษฐกิจโลกช่วงที่เหลือของปี 2563 (s.134)

  . จากการที่เราได้คุยกันในครั้งก่อนว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยนั้นมีความผูกพันและเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งหากเศรษฐกิจของโลกไม่มีการปรับตัวในแง่ที่ดี เศรษฐกิจในประเทศก็คงไม่สามารถปรับตัวในทางที่ดีได้เช่นกัน ทั้งนี้ประเทศไทยมีการพึ่งพิงการส่งออกและการท่องเที่ยวในระดับที่สูง ซึ่งครั้งนี้เราจะมาพูดถึงปัจจัยภาพรวมของเศรษฐกิจโลกในช่วงที่เหลือของปีนี้ เพื่อนำไปเตรียมพร้อมและวางแผนรองรับในเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อธุรกิจของเรา ดังนี้ . 1. ภาพของการเข้มงวดในมาตรการป้องกันโรคระบาด COVID-19 ที่กลับมาเข้มข้นมากขึ้น - ซึ่งเป็นปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจโลก โดยเห็นได้จากตัวเลขดัชนีต่างๆ ในหมวดค้าปลีกและสันทนาการที่มีการชะลอตัวลงในประเทศเศรษฐกิจหลัก อย่างไรก็ดีการปิดเมืองในครั้งนี้จะเน้นการปิดเมืองแบบเน้นพื้นที่ ซึ่งจะมีผลต่อการหดตัวของเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าการปิดทั้งประเทศในช่วงแรก 2. การกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ของประเทศเศรษฐกิจหลัก - ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลประเทศต่างๆ ได้ออกมาตรการทางการเงินขนานใหญ่เพื่อประคองเศรษฐกิจให้ไม่ตกต่ำไปมาก แต่หากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังไม่สามารถก...