Gig Economy ได้ถูกนิยามตามยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของธุรกิจในขณะนั้น ซึ่งในช่วงหนึ่ง Gig Economy มักกล่าวถึงกลุ่มคนที่มีความสามารถที่รับงานเป็นโครงการชั่วคราวหรือเป็นครั้งๆ โดยที่มีการติดต่อทำงานกันผ่านช่องทางดิจิตอล เช่น นักพัฒนาโปรแกรม ผู้ออกแบบสินค้า เป็นต้น. ยุคต่อมา Gig Economy ได้ขยายความรวมไปถึงกลุ่มคนที่เป็น White-Collar ที่รับจ้างทำงานในองค์กรเป็นการชั่วคราว โดยมักจะเป็นบริษัทที่ให้บริการในด้านต่างๆ เช่น บริษัทบัญชี หรือบริษัทที่ปรึกษา เป็นต้น. ปัจจุบัน Gig Economy ยังหมายรวมถึงผู้ที่ทำงาน Part-time หรือ Full-Time ที่ขับรถรับส่งสินค้าหรืออาหาร เช่น Grab, LineMan และ Kerry เป็นต้น ซึ่งถือเป็นคนกลุ่มใหญ่ของ Gig Economy ในปัจจุบัน.
กรณีของบริษัทหนึ่งๆ ต้องการหาผู้เชี่ยวชาญทำงานหนึ่ง เช่น ผู้ที่ออกแบบโลโก้ให้แก่สินค้า บริษัทสามารถมีทางเลือก 3 แนวทาง ได้แก่ 1.จ้างพนักงาน 2.จ้างบริษัทที่ทำธุรกิจดังกล่าวโดยเฉพาะ หรือ 3.จ้างกลุ่มคน Freelance. โดยหากล่าวถึงมุมมองกรณีของ Freelance ซึ่งในอดีตการจ้าง Freelance จะค่อนข้างมีความเสี่ยง เพราะบริษัทต้องเสี่ยงกับผลงานของผู้รับจ้างที่ยากจะคาดเดาไว้ อย่างไรก็ดีจากการที่เทคโนโลยีที่ทำให้ระบบ Rating และ Feedback รวมถึงการหา Freelance มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้หลายบริษัทกล้าเปิดรับและใช้บริการจาก Freelance มากขึ้น และ Gig Economy ก็มีแนวโน้มเติบโตตามการเปิดรับเช่นกัน.
.
สิ่งที่ต้องขบคิดต่อไป คือ พนักงานที่มีความรู้ (Knowledge Worker) ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับบริษัทหรือไม่❓ และถ้าจำเป็น บริษัทควรจ้างเพื่อทำงานประเภทไหน❓
.
#busguy
#ธุรกิจแบ่งปัน #business
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น