ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ดัชนีผู้นำองค์กรไทย คุณลักษณะแบบไหนที่จะพาองค์กรไปสู่สากล (s.138)


หากเราต้องการปรับปรุงหรือต้องการรู้สถานะอะไรบางอย่างสิ่งที่เรามักจะใช้กันคือตัวชี้วัดที่บ่งบอกถึงสถานะสิ่งที่เราอยากจะวัด เช่น หากต้องการทราบเรื่องสุขภาพก็จะมีตัวชี้วัดต่างๆ ได้แก่ คอเลสเตอรอล ระดับความดัน หรือหากต้องการทราบเรื่องผลการดำเนินงานของบริษัทก็อาจใช้ตัวชี้วัดเป็นยอดขาย ผลกำไร เป็นต้น  อย่างไรก็ดีดัชนีชี้วัดสำหรับ "ผู้นำ" ซึ่งวัดถึงผู้นำในการพาองค์กรไปสู่ระดับสากลนั้น อาจเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนทั่วไป ซึ่งที่จริงแล้วได้มีการพยายามหาตัวชี้วัดอย่างมากมายในต่างประเทศ  ครั้งนี้ขอนำบทความจาก ดร.สุทธิโสพรรณ ช่วยวงศ์ญาติ ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 21 ก.ย.63 เรื่อง "ผู้นำเก่ง ดูจากอะไร? (ตอนที่ 1)" ที่กล่าวถึงคุณลักษณะของผู้นำไทยใน 6 มิติที่เป็นคุณลักษณะเฉพาะสำหรับคนไทยกับการก้าวสู่สากล ซึ่งมีดังนี้
-
1. นักสำรวจความแปลกใหม่ - ผู้นำที่เห็นโอกาส กล้าเสี่ยงทำเรื่องใหม่ สามารถรับมือกับความผันผวนความไม่แน่นอน

2. นักรบผู้พิชิตความสำเร็จ - ผู้นำที่ผลักดันให้เกิดผลลัพธ์ภายใต้การแข่งขันที่รุนแรง โดยการสร้างความแตกต่างเพื่อให้เกิดความได้เปรียบ

3. นักสื่อสารผู้เข้าใจคน - ผู้นำที่มีคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้ทีมงานเข้าใจและเดินไปในทิศทางเดียวกันผ่านการสื่อสารที่ตรงและเปิดใจ

4. นักผนึกกำลัง - ผู้นำที่รู้จักมอบหมายและกระจายงานรวมทั้งอำนาจ สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลภายในและผู้มีส่วนได้เสียภายนอก

5. นักส่งเสริมความหลากหลาย - ผู้นำที่มองเห็นภาพใหญ่ เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นจากมุมมองสากล รู้จักใช้กระแสโลกาภิวัฒน์ รวมถึงให้คุณค่ากับความแตกต่างที่หลากหลาย

6. ผู้ถือไฟนำทาง - ผู้นำที่มีสายตายาวไกล คาดเดาแนวโน้มต่างๆ ในอนาคตและเตรียมตัวในการสร้างผู้นำ วัฒนธรรมที่เหมาะสมในระยะยาว
-
คุณลักษณะดังกล่าวถือเป็นแบบตัวชี้วัดรูปแบบหนึ่งที่เราสามารถใช้ประเมินตนเองในการเป็นผู้นำขององค์กร ซึ่งหากผู้นำในองค์มีคุณสมบัติดังกล่าวก็นับได้ว่าเราได้เริ่มเข้าใกล้ความเป็นสากลอีกก้าวหนึ่ง แต่ถ้ายังรู้สึกไม่มีหรือยังมีน้อย สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่พัฒนากันได้ ขอให้โชคดีครับ
👍

#busguy 
#ธุรกิจแบ่งปัน #business

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...