ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เทคโนโลยี AI กับการแข่งขันในการพัฒนา (s.215)

 


#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business 

การแข่งขันทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันและอนาคต  เทคโนโลยีด้าน AI ถือเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่มีการแข่งขันกันระหว่างประเทศกันอย่างกว้างขวาง โดยมีความเชื่อว่าประเทศที่ทำเรื่อง AI ได้ดี ประเทศนั้นจะสามารถสร้างความได้เปรียบในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ได้มากกว่า ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพการผลิตและสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศได้มากขึ้น

มีรายงานจาก Center for Data Innovation ซึ่งออกเมื่อต้นปี 2564 เรื่อง "Who is winning the AI race : China, the EU or the United States? 2021 Update" ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบศักยภาพการพัฒนาเทคโนโลยีด้าน AI ของกลุ่มประเทศดังกล่าว โดยมีการนำเสนอครั้งแรกเมื่อปี 2562 โดยเป็นการเปรียบเทียบใช้ตัวชี้วัด 30 ตัว ซึ่งในปีดังกล่าวสหรัฐมีคะแนนนำที่ 44.2 คะแนนจาก 100 คะแนน ตามด้วยจีน 32.3 คะแนน และสหภาพยุโรป 23.5 คะแนน

สำหรับรายงานล่าสุดมีการอัพเดทข้อมูลสำหรับตัวชี้วัด 15 ตัว และเพิ่มตัวชี้วัดขึ้นอีกด้าน ซึ่งสหรัฐยังมีคะแนนนำที่ 44.6 คะแนน ตามด้วยจีนที่ 32 คะแนน และสหภาพยุโรปที่ 23.3 คะแนน แต่หากมองดูไส้ในจะพบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของตัวชี้วัด จีนสามารถทำคะแนนเข้าใกล้สหรัฐมากขึ้น โดยสิ่งที่สหรัฐทำได้ดีกว่าจีนคือ เรื่องเงินลงทุนในกลุ่มบริษัท Start-up และ เรื่องเงินลงทุนในงานวิจัยและพัฒนา  อย่างไรก็ดีสิ่งที่จีนทำได้ดีกว่า คือ ด้านข้อมูล และ ด้านการประยุกต์ใช้งาน 

ทั้งนี้หากมองในนโยบายล่าสุดและความทะเยอทะยานของประเทศจีนในการที่จะพัฒนาเทคโนโลยี โดยเฉพาะ AI  ให้มีความโดดเด่น ประกอบกับงบประมาณมหาศาลที่ภาครัฐให้การสนับสนุน อนาคตของเทคโนโลยี AI สำหรับประเทศจีน มีโอกาสสูงที่จะนำขึ้นมาแซงหน้าสหรัฐเป็นอันดับหนึ่งได้ในอนาคตอันใกล้

🙏🙏

อ้างอิง: บทความ "'จับตาอนาคต AI แดนมังกร จะแซงหน้าอเมริกา-ยุโรปหรือไม่?" โดย คุณธนชาติ นุ่มนนท์ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...

Reserve Currency (s.538)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Reserve Currency คือ เงินตราต่างประเทศที่ธนาคารกลางและสถาบันการเงินใหญ่ๆ ในโลกถือไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ในการค้า การลงทุนและการชำระหนี้ระหว่างประเทศ. ➼ ตั้งแต่ปี 1944 มี 44 ประเทศได้ตกลงกันที่เมือง Bretton Woods ที่จะให้ดอลลาร์เป็นเงินตราที่จะใช้ในธุรกรรมระหว่างประเทศ โดยประเทศต่างๆ จะผูกค่าเงินของตนไว้กับดอลลาร์ และดอลลาร์ก็จะผูกไว้กับทองคำอีกต่อหนึ่ง ในอัตรา 35 ดอลลาร์ต่อทองทำ 1 Troy Ounce นี่เป็นจุดกำหนดของระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate System). ➼ ในปี 1973 ประธานาธิบดีนิกสันได้ประกาศยกเลิกการผูกค่าเงินดอลลาร์ไว้กับทองคำ อันเป็นจุดเริ่มต้นของระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Flexible Exchange Rate System) โดยแม้ดอลลาร์จะไม่มีทองคำหนุนหลัง แต่ดอลลาร์ก็ยังคงเป็น reserve currency หลักของโลกมาตลอดมาตลอดเกือบ 80 ปี เพราะสภาพคล่องที่มีสูงมาก. ➼ สหรัฐถือเป็นประเทศที่ได้เปรียบทุกประเทศในการที่สามารถใช้เงินของตนทำธุรกรรมต่างประเทศได้ อย่างไรก็ดี ในระยะยาว ยังมีคำถามที่เกิดขึ้นคือ ดอลลาร์อาจสูญเสียความเป็น reserve currency หลักของ...