#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business
.
ในปัจจุบันจากการที่มีการตื่นตัวในเรื่องของสิ่งแวดล้อมมากขึ้นนั้น ประเทศต่างๆ หลายประเทศได้นำมาตราการที่มิใช่ภาษีศุลกากร (Non-Tariff Measures: NTM) ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเข้ามาใช้เพื่อป้องกันคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศผู้นำเข้า และอาจรวมถึงการรักษาความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของผู้ผลิตในประเทศของตน ทั้งนี้มาตรการสิ่งแวดล้อมสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ซึ่งที่น่าสนใจได้แก่
.
1. มาตรการภาคบังคับ (Mandatory Measures) เช่น
- การติดฉลากคาร์บอน (Carbon Label/Carbon Footprint Label) : แสดงระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตหรือตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์
- ระเบียบว่าด้วยการจัดการเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Waste, Electrical and Electronic Equipment: WEEE) : เพื่อหาผู้รับผิดชอบในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะที่เกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สิ้นสุดอายุการใช้งาน
- ระเบียบว่าด้วยการใช้สารอันตรายบางชนิดในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Restrictions on Hazardous Substances: RoHS) : เพื่อจำกัดการใช้สารอันตรายบางชนิดในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
- มาตรฐานการระบายไอเสียของรถยนต์ (EURO Standard) : เพื่อควบคุมการระบายไอเสียรถยนต์ โดยปัจจุบันมีถึง EURO 6
- มาตรการส่งเสริมรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) : เพื่อส่งเสริมการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าซึ่งปล่อยมลพิษจากปลายท่อในระดับที่ต่ำหรือไม่ปล่อยเลย
- มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Border Cardon Adjustment: BCA) : กลไกที่ทำให้ราคาสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศสะท้อนปริมาณคาร์บอนที่แท้จริง และช่วยจัดการปัญหา Carbon Leakage
.
2. มาตรการภาคสมัครใจ (Voluntary Measures) : เช่น การติดสติ๊กเกอร์เพื่อแสดงประสิทธิภาพในการใช้พลักงาน ฉลากสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
.
🙏🙏
อ้างอิง: Krungthai Compass เรื่อง "จับตากระแสโลก หนุนธุรกิจสายกรีนและนวัตกรรมยั่งยืน"
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น