#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business
.
ถึงแม้ผู้คนจำนวนมากในหลายประเทศจะมีอาหารการกินอย่างสมบูรณ์และมากเกินกว่าที่พวกเขาจะบริโภคได้ทั้งหมด แต่ยังมีผู้คนอีกจำนวนมากเช่นกันที่ยังขาดแคลนอาหาร ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน และถึงขั้นอดตายเนื่องจากการขาดอาหาร ทั้งนี้องค์การสหประชาชาติได้เปิดเผยว่า มีประชากรกว่า 135 ล้านคน ในปี 2019 ที่กำลังเข้าสู่ภาวะอดอยาก
.
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) ได้เผยว่าในปี 2019 ประชากรกว่า 2 พันล้านคน หรือคิดเป็น 25.9% ของประชากรโลก เผชิญกับความไม่มั่งคงทางอาหาร ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2014 โดยทวีปเอเซียมีประชากรที่เผชิญความไม่มั่นคงทางอาหารสูงสุดที่ 1 พันล้านคน แต่หากดูที่สัดส่วนจะพบว่าทวีปแอฟริกาจะมีสัดส่วนสูงสุดที่ 51.6%
.
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความมั่งคงทางอาหารได้แก่ความยากจน อย่างไรก็ดียังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลกระทบต่อความมั่งคงทางอาหารของประชาโลก ได้แก่ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรโลก ภาวะโลกร้อนที่ส่งผลต่อการลดลงของพื้นที่การเกษตร การขาดแคลนน้ำที่เป็นปัจจัยหลักในการเกษตร การขาดแคลนแรงงานภาคเกษตร และ พฤติกรรมการบริโภคที่ก่อให้เกิดการสูญเสีย
.
กลับมาดูที่ประเทศไทยชองเราซึ่งเป็นประเทศที่มีการทำอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารอย่างกว้างขวาง แต่จากข้อมูล Global Food Security Index พบว่าประเทศไทยมีความมั่งคงทางอาหารในอันดับที่ 52 จาก 113 ประเทศ ซึ่งมีสัดส่วนประชากรที่ขาดแคลนสารอาหารในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยเรากำลังเผชิญกับความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารอาหารที่เพียงพอ ซึ่งการที่ประเทศไทยมีความภูมิในการเป็นประเทศที่มีการทำเกษตรกรรมอย่างกว้างขวาง ก็ไม่อาจเป็นเครื่องรับประกันในการเข้าถึงสารอาหารที่เพียงพอและหลากหลายของคนในประเทศไทย และสิ่งนี้จะเป็นโจทย์ใหญ่ของประเทศในช่วงต่อไป
🙏🙏
อ้างอิง: SCB EIC
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น