#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business
.
จากรายงานความเสี่ยงโลกที่จัดทำโดย World Economic Forum ในปี 2021 นี้ ได้แสดงให้เห็นว่า ความเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นความเสี่ยงระดับโลกที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูงสุดในช่วง 10 ปีข้างหน้านี้ ซึ่งจะผลต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรง และยังต่อเนื่องยาวนาน ทั้งนี้มีปัจจัย 3 เรื่องที่จะกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ที่จะผลักดันในภาคธุรกิจในประเทศไทยของเราต้องพิจารณาถึงการดำเนินรูปแบบธุรกิจในแบบที่ไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะพลิกโฉมธุรกิจในระยะ 10 ปี ข้างหน้า ได้แก่
.
1. กระแสการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระแสสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) - โดยจากการประเมินของ Stanford Institute for Economic Policy Research (SIEPR) พบว่าผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจากการที่ประเทศต่างๆ ไม่ดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 3.2-5.4 องศาเซลเซียสจากอุณหภูมิเฉลี่ยในช่วง 1980-2000 อาจทำให้ GDP ต่อหัวโดยเฉลี่ยลดลงถึง 23% ภายในปี 2100 ทั้งนี้ได้เริ่มมีหลายประเทศที่มีการตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์แล้ว ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่ได้มีการยกระดับเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้สุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งอาจนำไปสู่อุปสรรคการส่งออกสินค้าจากมาตรการภาษีและที่ไม่ใช่ภาษีสำหรับสินค้าที่มีการปล่อยคาร์บอนของไทยได้
.
2. กระแสการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) - เป้าหมายที่สำคัญ คือ การลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นวัสดุใหม่ และลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยภาคธุรกิจจำเป็นต้องทบทวนและปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจในห่วงโซ่มูลค่าของธุรกิจเพื่อนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าและเท่าที่จำเป็น โดยผลจากการศึกษาของ The Platform Accelerating the Circular Economy (PACE) พบว่าโลกเรามีการนำทรัพยากรธรรมชาติกลับมาใช้เพียง 8.6% ในปี 2020 ลดลงจาก 91.% ในปี 2018
.
3. กระแสการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 - สิ่งนี้จะเป็นตัวเร่งให้การแข่งขันทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป โดยประเทศที่มีความสามารถในด้านนวัตกรรมอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลกส่วนใหญ่เป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีระดับ GDP ต่อหัวสูง ในขณะที่ประเทศไทยได้รับจากจัดอับดับที่ 44 ในปี 2020 แย่ลงจากปีก่อน ซึ่งหากพิจารณาถึงสัดส่วนค่าใช้จ่ายงานด้านการวิจัยและพัฒนาฯ เฉลี่ยที่ 1.1% ของ GDP ประเทศไทย จะกล่าวได้ว่าอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับของประเทศที่มีความโดดเด่น เช่น สหรัฐอเมริกา (2.76%) มาเลเซีย (1.6%) เป็นต้น
.
🙏🙏
อ้างอิง: Krungthai Compass เรื่อง "จับตากระแสโลก หนุนธุรกิจสายกรีนและนวัตกรรมยั่งยืน"
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น