#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business
สัดส่วนผู้สูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปตามแนวโน้มของประเทศอื่นทั่วโลก โดยคาดว่าในปี 2568 หรืออีก 4 ข้างหน้า ประชากรไทยที่มีอายุเกิน 65 จะมีถึงร้อยละ 16.2 ของจำนวนประชากรทั้งหมด และในปี 2573 จะมีร้อยละ 19.6 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนำไปสู่การเติบโตของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุมากขึ้นในปัจจุบัน
โดยทั่วไปธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุมักจะเป็นเรื่องของการเยียวยาหรือบรรเทาความสูงวัย เช่น เรื่องสุขภาพ ผิวพรรณ ร่างกาย และจิตใจ เป็นต้น ซึ่งสินค้าและบริการที่เราพบเห็นในปัจจุบันมักจะสื่อสารในลักษณะที่ตอกย้ำของวัยที่สูงขึ้น ซึ่งมักเป็นลักษณะเชิงลบ เช่น ชูจุดขายเรื่องการต่อต้านหรือการชะลอความสูงวัย (Anti-Aging)
อย่างไรก็ดี แนวโน้มใหม่ที่เริ่มพบเห็นได้ในปัจจุบันคือการที่แบรนด์สินค้าและบริการต่างๆ เริ่มหันมาใช้การสื่อสารที่เป็นเชิงบวกมากขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์ช่วยในเรื่องของผิวพรรณเปล่งประกาย มีน้ำมีนวล มากกว่าที่จะสื่อสารว่าช่วยลบริ้วรอย หรือชะลอความเยี่ยวย่น ซึ่งตัวอย่างดังกล่าวทำให้เราได้เห็นแนวคิดของแบรนด์ที่กลับมาเน้นทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับความสูงวัย
ดังนั้น เมื่อมองในเชิงโอกาสของธุรกิจสำหรับกลุ่มลูกค้าสูงวัยแล้ว สินค้าหรือบริการในอนาคตจะไม่จำเป็นต้องเน้นประโยชน์ที่การช่วยเหลือ การอำนวยความสะดวก หรือการชะลอวัยซึ่งเป็นมุมมองในเชิงลบเท่านั้น แต่ยังสามารถเน้นในเรื่องของมุมมองทัศนคติที่เป็นบวกมากขึ้นเพื่อความพลังเชิงบวกให้กับกลุ่มผู้สูงวัยได้ด้วย
🙏🙏
อ้างอิง: บทความ "'การคิดเชิงบวก เมื่อเริ่มสูงวัย" โดย ดร.พสุ เดชะรินทร์ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น