#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
.
➼ การมีเงินออมหรือเงินเหลือจากการบริโภคที่แปรเปลี่ยนเป็นเงินลงทุน เป็นหัวใจของการมีความอิสระทางการเงิน กล่าวคือมีรายได้ในรูปของดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า ส่วนแบ่งกำไร ฯลฯ โดยที่ไม่ต้องออกแรงทำงาน. คำที่ว่า "จงอยู่กินต่ำกว่าฐานะ" จึงมีความเป็นเหตุผลโดยเป็นการใช้จ่ายต่ำกว่าฐานะที่มีเพื่อสะสมทุนหรือให้มีเงินออมไปลงทุนในสิ่งที่จะสร้างรายได้และมูลค่าเพิ่มในอนาคต หรืออาจเป็นการเรียนรู้ทักษะที่จะทำให้มีรายได้เพิ่ม.
➼ ทั้งนี้มีประเด็นที่ต้องพิจารณาอย่างน้อย 9 เรื่องที่เป็นอุปสรรคต่อการสะสมทุน ดังนี้ (1) บัตรเครดิต ธุรกิจและเทคโนโลยีสมัยใหม่ - ทำให้การกู้ยืมเงินเป็นไปได้ด้วยความสะดวกรวดเร็ว ซึ่งเสมือนเป็นการกู้ยืมหรือเอารายได้ในอนาคตมาใช้ก่อนด้วยรายจ่ายนั่นเอง (2) การอยู่กินอย่างหรูหราตามเพื่อน - ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นแท็กซี่บ่อยๆ แทนการขึ้นรถเมล์ การมีรถหรูราคาแพง หรือการเที่ยวต่างประเทศบ่อยๆ ฯลฯ
➼ (3) เฮฮาปาร์ตี้ - ซึ่งการสังสรรค์ไม่ใช่สิ่งไม่ดี แต่การถวิลหาความสุขจากกิจกรรมดังกล่าวบ่อยครั้งจะเป็นหนทางของการเสียเงินโดยใช่เหตุ (4) ความหล่อและความงาม - อาจพิจารณาดูว่าในเดือนหนึ่งๆ แต่ละคนเสียเงินไปกับการทำผม เล็บ หรือดูแลเรื่องความหล่อความสวย รวมถึงครีมและเครื่องสำอางต่างๆ ไปเท่าไหร่ มากเกินไปหรือไม่เมื่อเทียบกับรายได้
➼ (5) ยาและสมุนไพร - เพื่อบำรุงสุขภาพและความงาม ซึ่งคนไทยใช้เงินกับเรื่องนี้เป็นจำนวนมากในแต่ละปี ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขของรัฐในการรักษาความเจ็บป่วยจากโรคมหาศาล (6) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ - ถึงแม้จะมีความพอดีในการบริโภค แต่สิ่งเหล่านี้ทำให้เสียเงินและยังเสียสุขภาพอีกด้วย
➼ (7) การพนัน - การซื้อหวยรัฐบาลหรือใต้ดินกับเป็นเงินจำนวนมากในแต่ละเดือน รวมถึงการพนันออนไลน์ ซึ่งส่วนหนึ่งมาในรูปของเกมส์อย่างเนียนๆ ทำให้ต้องเสียเงินเพื่อซื้ออุปกรณ์ในเกมส์ (8) แสวงหาพลังศักดิ์สิทธิ์ - คนไทยเสียเงินมากมายจากการพยายามหาเลขเด็ด หาความหลุดพ้นจากความยากจน หาความโชคดี ฯลฯ (9) ซื้อสิ่งไร้สาระ - คนเรามักเสียเงินซื้อของในลักษณะนี้ไม่น้อย เพื่อความสุขเล็กๆ น้อยๆ
➼ การมุ่งมั่นอย่างมีเป้าหมาย พร้อมมีวินัยที่บังคับใจตนเองในเรื่องการใช้จ่ายและเดินไปบนเส้นทางชีวิตอย่างระมัดระวังด้วยคุณธรรม จะทำให้เกิดทั้งความมั่นคงทางการเงิน และความมั่นคงในชีวิต.
อ้างอิง: "ชะลอ รวย และเร่ง จน" วรากรณ์ สามโกเศศ, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น