ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พหุปัญญา (s.351)

 


#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน

.

Professor Dr.Howard Gardner นักจิตวิทยา อาจารย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้นำเสนอทฤษฎีพหุปัญญา หรือ Theory of Multiple Intelligence เมื่อปี พ.ศ.2526 โดยแบ่งแยกความฉลาดของคนเราเป็น 8 ประเภท จากเดิมที่เราจะมีการวัดความฉลาดเฉพาะทางทักษะการคิดและคำนวณ ซึ่งความฉลาดทั้ง 8 ประเภท ประกอบด้วย

.

1. ความฉลาดทางพื้นที่ (Spatial Intelligence) เป็นความสามารถในการมองภาพใหญ่ของพื้นที่และทิศทางและจัดการกับพื้นที่ต่างๆ เช่น นักบิน นักเดินทาง เป็นต้น

2. ความฉลาดทางกาย (Bodily-Kinesthetic Intelligence) เป็นความสามารถในการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย หรือทั้งร่างกาย เพื่อแก้ไขปัญหาหรือเพื่อการแสดง เช่น นักเต้นรำ

3. ความฉลาดทางดนตรี (Musical Rhythmic Intelligence) เป็นการตอบรับกับเสียง จังหวะ ท่วงทำนอง เช่น นักดนตรี นักแต่งเพลง วาทกร

4. ความฉลาดทางภาษา (Linguistic Intelligence) เป็นความฉลาดใช้ภาษาและคำพูด เสียง จังหวะ การเรียงลำดับคำพูดและการเขียน

5. ความฉลาดทางตรรกะและคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence) เป็นความฉลาดในการมองภาพรวมและความเป็นเหตุเป็นผลของการกระทำ และสัญลักษณ์ เช่น นักคณิตศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์

6. ความฉลาดทางความสัมพันธ์กับผู้อื่น (Intrapersonal Intelligence) เป็นมนุษยสัมพันธ์สามารถเข้าใจอารมณ์ความรู้สึก และแรงจูงใจของผู้อื่น บางครั้งเรียกว่าความฉลาดทางสังคม

7. เป็นความฉลาดในการรู้จักอารมณ์ ความรู้สึก และแรงจูงใจของตนเอง ทำให้ตัดสินใจในส่วนของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางครั้งเรียกว่า Self Intelligence

8. ความฉลาดทางธรรมชาติ (Naturalist Intelligence) ความสามารถในการรู้จักกับธรรมชาติ เช่น สามารถแยกแยะความแตกต่างของพืช หรือของเมฆชนิดต่างๆ ได้

.

ทั้งนี้ ความฉลาดต่างๆ เหล่านี้ ในแต่ละบุคคลจะมีไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมและประสบการณ์ การได้เห็น ได้เรียนรู้ จึงเป็นการเพิ่มประสบการณ์ และช่วยเสริมความฉลาดได้. ซึ่งไม่ว่าจะเป็นความฉลาดด้านใด เชื่อว่าหากถูกพัฒนา หากได้มีโอกาสในการใช้และทำให้เต็มที่ เราจะสามารถเพิ่มศักยภาพของแต่ละคนได้


อ้างอิง: 'การแข่งขัน' วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ, กรุงเทพธุรกิจ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...