#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
• การ Merger (กาควบรวมกิจการ) และ Demerger (การแยกกิจการ) ถือทางเลือกในการเติบโตสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งทั้งสองทางเลือกดูเหมือนเป็นวิธีการที่ตรงข้ามกันอย่างมาก แต่ทั้งสองวิธีถือเป็นแนวทางในการเติบโตได้อย่างหนึ่ง
• การควบรวมกิจการ มักเกิดในหลายสถานการณ์ เช่น การต้องการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ การเข้าสู่ตลาดใหม่ ต้องการเทคโนโลยีของบริษัทเป้าหมาย หรือตต้องการขยายกิจการอย่างรวดเร็ว เป็นต้น
• การควบรวมกิจการ มีข้อที่ต้องพึงระวัง เช่น การคำนวณมูลค่าของกิจการที่ต้องการเข้าไปซื้อเหมาะสมหรือไม่ การสำรวจตรวจสอบเบื้องลึกในบริษัทที่จะเข้าไปซื้อหรือควบรวม หรือแม้กระทั่งเรื่องของ Post-Merger จากวัฒนธรรมองค์กร กระบวนการทำงาน ความพร้อมทางเทคโนโลยี และความพร้อมของบุคลากรที่มีความแตกต่างกัน
• สำหรับการแยกกิจการ เป็นการที่บริษัทที่มีหลายธุรกิจเลือกที่จะแยกกิจการออกมา โดยให้กิจการที่แยกออกมามีความเป็นอิสระจากบริษัทแม่มากขึ้น และถึงขั้นที่สามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้
• การแยกกิจการ มีแนวคิดที่ว่าการที่ทุกธุรกิจอยู่ภายใต้บริษัทใหญ่เดียวกัน นำไปสู่การขาดความคล่องตัวและความไม่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ดังนั้นเมื่อมีการแยกกิจการออกมาเป็นอิสระ ก็จะเป็นการ unlock value ของธุรกิจย่อยเหล่านั้น
• ตัวอย่างของการ unlock value ที่เพิ่งเกิดขึ้นได้แก่ กรณีของ GE ที่แตกออกเป็น 3 ธุรกิจ ที่นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งที่ตนเองสนใจได้ โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนในหุ้นของ GE ใหญ่ นอกจากนี้ยังมี Toshiba ที่แตกออกเป็น 3 ธุรกิจ และ Johnson & Johnson ที่แตกออกเป็น 2 ธุรกิจ โดยสังเกตได้ว่าการแยกกิจการนั้น จะเหมาะกับบริษัทที่มีธุรกิจย่อยที่แตกต่างและหลากหลายอยู่ภายใต้บริษัทใหญ่
.
อ้างอิง: "Merger กับ Demerger" รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น