#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
.
พัฒนาการด้านความเหลื่อมล้ำของไทยในช่วงก่อนและหลังวิกฤตโควิด สามารถแบ่งได้ดังนี้
1. ก่อนวิกฤตโควิด: เศรษฐกิจไทยโตดี แต่ประชาชนกลับไม่รู้สึก
ช่วงปี 2558-2562 เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่องเฉลี่ย 3.4% ต่อปี และดูเหมือนการกระจายรายได้จากตัวเลขสถิติต่างๆ ดีขึ้น แต่ประชาชนกลับเกิดความสงสัยและไม่รู้สึกว่าเศรษฐกิจดี เนื่องจาก (1) เงินที่ได้รับจากการทำงานยังไม่พอเลี้ยงปากท้อง และต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากแหล่งอื่น และ (2) ครัวเรือนยังต้องบริโภคด้วยการก่อหนี้ สะท้อนจากสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ณ สิ้นไตรมาส 4/2562 อยู่ที่เกือบ 80% สูงเป็นอันดับ 2 ในเอเชียรองจากเกาหลีใต้
.
2. วิกฤตโควิด-19: รายได้ลด หนี้สินเพิ่ม ซ้ำเติมปัญหาความเหลื่อมล้ำ
เศรษฐกิจไทยหดตัวสูงถึงร้อยละ 6.1 ในปี 2563 จากการระบาดของโควิด-19 ยิ่งซ้ำเติมปัญหาความเหลื่อมล้ำ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มที่รายได้ลดลงมาก เช่น ลูกจ้างในภาคบริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ทำให้ต้องนำเงินออมที่มีอยู่มาใช้จ่าย รวมถึงก่อหนี้เพิ่ม (2) กลุ่มที่รายได้ยังเท่าเดิมหรือลดลงไม่มาก เช่น ข้าราชการ ลูกจ้างรัฐและเอกชนบางส่วน โดยกลุ่มนี้ยังออมเงินในอัตราใกล้เคียงหรืออาจเพิ่มขึ้น และ (3) กลุ่มที่รายได้เพิ่มขึ้น เช่น กลุ่มค้าขายออนไลน์ โดยกลุ่มนี้สามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาส เพิ่มรายได้และเก็บออมได้มากขึ้น
.
3. หลังวิกฤตโควิด-19: มุ่งแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำอย่างยั่งยืน
ซับซ้อนและใช้เวลานาน โดยมีแนวทาง 3 ประเด็น คือ (1) ต้องมีทรัพยากรที่เพียงพอต่อการแก้ปัญหา การปฏิรูปการจัดเก็บภาษีจะทำให้รัฐบาลมีรายได้เพียงพอเพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน (2) ต้องจัดสรรทรัพยากรเพื่อแก้ปัญหาอย่างตรงจุด ไม่ทำนโยบายแบบเหวี่ยงแห และ (3) ต้องพิจารณาความสมดุลในการแก้ปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว นอกจากจะจ่ายเงินเยียวยาและพยุงเศรษฐกิจเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า จะต้องให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนในระยะยาวด้วย
.
อ้างอิง: 'ความเหลื่อมล้ำตัวฉุดเศรษฐกิจไทย' พิรญาณ์ รณภาพ, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น