#busguy #จดมาสรุปให้ฟัง #ธุรกิจแบ่งปัน
การสูญเสียอาหารและขยะอาหารถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่ทั่วโลกเผชิญในปัจจุบัน. โดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่าอาหารที่ผลิตขึ้นทั่วโลกจะสูญเปล่าไปถึง 1/3 ในแต่ละปี ซึ่งของเสียเหล่านี้เกิดขึ้นในทุกกระบวนการตั้งแต่การเก็บเกี่ยว การผลิต การขนส่ง การจัดจำหน่าย จนถึงมือผู้บริโภคและด้วยการจัดการขยะที่ไม่ถูกวิธี ทำให้เกิดผลกระทบการสิ่งแวดล้อมอย่างมาก
รายงาน Food Waste Index Report 2021 เปิดเผยว่าในปี 2019 มีขยะอาหารที่เกิดขึ้นประมาณ 931 ล้านตัน เป็นสัดส่วนจากภาคครัวเรือนมากที่สุดที่ร้อยละ 61 ตามด้วยธุรกิจบริการอาหารที่ร้อยละ 26 และธุรกิจค้าปลีกที่ร้อยละ 13. โดยคิดเป็น 8-10% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก
สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษระบุว่า ปี 2017 ไทยมีขยะอาหารคิดเป็นร้อยละ 64 ของปริมาณอาหารขยะทั้งหมด แต่เนื่องจากขาดระบบการคัดแยกขยะที่ดีทำให้มีการนำขยะอาหารไปใช้ประโยชน์ได้น้อยมาก โดยปัจจุบันภาครัฐและเอกชนเริ่มตื่นตัวในการแก้ไขปัญหาขยะอาหารโดยตั้งเป้าลดปริมาณขยะอาหารของประเทศอย่างน้อยร้อยละ 50 ในปี 2037.
ทั้งนี้ การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการลดขยะอาหาร รวมถึงการปลูกฝังให้ประชาชนปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมในการบริโภคจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการบรรลุเป้าหมายการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน.
อ้างอิง: 'Food Loss and Food Waste' จรีพร จารุกรสกุล, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น