#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
• การช้อปออนไลน์นำความสุขสู่ผู้ซื้อเช่นเดียวกับการชอปปิ้งในรูปแบบปกติ โดยมีงานวิจัยระบุว่าความเศร้าหรือความทุกข์ของคนจะเกิดเนื่องมาจากเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่การได้ชอปปิ้งคือ การได้แสดงออกและรู้สึกถึงการควบคุมในสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น ว่าจะซื้อสินค้าอะไรบ้างและเป็นการนำความสุขกลับสู่ชีวิตอีกครั้ง
• ความสุขจากการได้ซื้อของนั้น ไม่ได้จำเป็นต้องมาจากการได้เป็นเจ้าของสินค้าที่ซื้อมาเสมอไป แต่เป็นความสุขที่ได้จากกระบวนการในการเลือกและตัดสินใจซื้อสินค้า. ยิ่งสำหรับการซื้อออนไลน์แล้ว เพียงแค่การได้กดเข้าไปเลือกดูสินค้าก็ทำให้มีความสุขแล้ว เนื่องจากสมองจะหลั่ง Dopamine ที่ทำให้รู้สึกดี
• Dopamine เป็นตัวขับเคลื่อนให้คนค้นหาสิ่งที่เรามีความสุขยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งคือการเข้าไปซื้อของออนไลน์อย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งมีข้อเสนอเลยว่าเพียงแค่กดของใส่ตระกร้า แล้วสุดท้ายค่อยลบตระกร้านั้นทิ้งไปก็ทำให้เกิดความรู้สึกมีความสุขขึ้นได้
• นอกจากการชอปปิ้งออนไลน์แล้ว การรอสินค้าที่สั่งมา ซึ่งทำให้เกิดความตื่นเต้นและความคาดหวัง และจะรู้สึกมีความสุขมากขึ้นเมื่อสินค้ามาถึง และพบว่าเป็นสินค้าตามที่ต้องการหรือเหนือกว่าที่คาดหวัง แต่เมื่อได้รับสินค้ามาแล้วความสุขดังกล่าวก็จะหมดไปดังเช่นการซื้อสินค้าปกติ
• ความสุขที่กระตุ้นไปสู่ความต้องการการซื้อสินค้าออนไลน์ ทำให้มีแนวคิดที่ผู้ค้าหรือแพลตฟอร์มปรับใช้คือ Cue-Reactivity ที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความตื่นเต้นจากการได้เห็นสินค้าบางอย่าง (ทั้งๆ ที่ไม่ได้ต้องการ) แล้วกระตุ้นให้เกิดความต้องการมากขึ้น
• เราในฐานะผู้ซื้อควรต้องเฝ้าสังเกตตนเองว่ามีอาการเสพติดกับการชอปปิ้งออนไลน์ หรือความรู้สึกผิดหรือรู้สึกไม่ดีภายหลังจากที่ซื้อสินค้าไปหรือไม่ โดยอาจรู้สึกว่าเสียเงินโดยไม่จำเป็น ดังนั้น เพื่อให้กลับมารู้สึกดีและมีความสุขอีกครั้ง จึงแก้ปัญหาด้วยการเข้าไปกดสั่งซื้อใหม่อีกครั้ง แต่ก็เป็นวงจรแบบนี้ไปเรื่อยๆ. ซึ่งเราเองควรทำด้วยความมีสติเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อตนเอง และอาจกระทบถึงคนรอบข้าง
อ้างอิง: "ซื้อของออนไลน์ สุข หรือ เสพติด" รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น