ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2022

กลยุทธ์การรักษาพนักงานหัวกะทิไอที (s.467)

#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ เมื่อเดือน ธ.ค. 64 ข้อมูลจาก "Gartner IT Compensation Increase Poll" ระบุว่า 50% ขององค์กรรายงานการเพิ่มเงินเดือนให้แก่บุคลากรสำคัญๆ ไว้ต่อสู้กับข้อเสนอที่พนักงานได้รับจากบริษัทอื่น. ➼ โดยการให้ข้อเสนอและการจัดการกับปัจจัยภายนอกเหนือจากเรื่องเงินได้กลายเป็นกลยุทธ์หลักที่มีความสำคัญต่อการรักษาพนักงานไอที. โดยการ์ทเนอร์ได้นำเสนอกลยุทธ์ 3 อย่างสำหรับการที่องค์กรจะรักษาบุคคลากรไอทีที่มีฝีมือไว้ประกอบด้วย. ➼ (1) ให้ความสำคัญการตรวจสอบติดตามและเพิ่มความสามารถการแข่งขันเรื่องค่าตอบแทน - ความคาดหวังของบุคคลากรไอทีจะมีมากกว่าการแค่เพิ่มค่าจ้าง. โดยองค์กรที่มีข้อจำกัดด้านการเงินควรจัดลำดับความสำคัญเพื่อจัดสรรงบอย่างเหมาะสม. ➼ (2) สร้างความยืดหยุ่นไว้ในกลยุทธ์ค่าตอบแทนไอที - โดยอาจเป็นการใช้กลยุทธ์ค่าตอบแทนแบบแปรผันที่ปรับเปลี่ยนหรือตัดออกได้ตามความสามารถและตามการเปลี่ยนแปลงของตลาด เช่น การจ่ายค่าตอบแทนตามทักษะที่องค์กรต้องการ. ➼ (3) ให้อำนาจแก่ผู้จัดการเพื่อการเจรจาค่าตอบแทนอย่างมีประสิทธิภาพ - การทำงานร่วมกับฝ่ายบุคคลเพื่อการสื่อสารที่ชัดเจนว...

ประชากรไทยกำลังลดลง (s.466)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ ในปี 2564 ประเทศไทยมีประชากรที่ตายมากกว่าประชากรที่เกิด. โดยมีการตายมากกว่าการเกิด 19,080 คน ในขณะที่ในปี 2563 ประเทศไทยมีการเกิดมากกว่าการตายถึง 85,930 คน. ➼ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 พบว่าอัตราภาวะเจริญพันธ์ของประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 6 โดยในขณะนั้นมีการมองว่าอัตราเจริญพันธ์ในระดับสูงเป็นการถ่วงโอกาสการพัฒนาของประเทศ ทำให้มีการเริ่มกำหนดนโยบายลดอัตราการเพิ่มประชากรไว้ในแผนฉบับที่ 3. ➼ ประเทศไทยเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางประชากรในช่วงแผนฉบับที่ 8 โดยกำหนดนโยบายที่เน้นการกระจายตัวประชากรและการตั้งถิ่นฐานชุมชนเมือง-ชนบทที่เติบโตอย่างเหมาะสม. ทั้งนี้ในแผนฉบับที่ 9 ได้มีการมุ่งรักษาระดับของอัตราภาวะเจริญพันธ์ไม่ให้ต่ำกว่า 1.8. ➼ อย่างไรก็ดี สถิติสาธารณสุขได้บันทึกว่าอัตราเจริญพันธ์ลดลงมาเหลือ 1.29 ในปี 2562 ซึ่งการลดลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง รวมถึงการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในระดับประเทศ และถือเป็นวาระแห่งชาติ. ➼ การเปลี่ยนแปลงนโยบายทางประชากรเป็นสิ่งที่สามารถพบเห...

Employee Segmentation (s.465)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ การ Upskill/Reskill ถือเป็นการเตรียมพร้อมของพนักงานให้สามารถรองรับและพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง. อย่างไรก็ดี พบว่าการ Upskill/Reskill รวมทั้งการเตรียมพร้อมของพนักงานยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวัง เพราะมักจะทำในลักษณะ One Size Fit All. ➼ Employee Segmentation เป็นสิ่งที่หลายองค์กรเริ่มนำมาปฏิบัติ เพื่อแบ่งกลุ่มพนักงานตามเกณฑ์ต่างๆ ที่จะกำหนดขึ้นและมีกลยุทธ์หรือแนวปฏิบัติสำหรับพนักงานในแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกัน ซึ่งหลักการนี้คล้ายๆ กับที่นักการตลาดทำเรื่อง Customer Segmentation. ➼ โดยองค์กรจำนวนไม่น้อยเริ่มมีเอาเรื่องทักษะหรือ Skills มาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มพนักงาน แนวทางที่พบเห็นบ่อยคือ การเลือกเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับทักษะมา 2 ประการ และทำเป็นตาราง 2x2 เพื่อให้ได้พนักงานออกเป็น 4 กลุ่ม จากนั้นก็สามารถเลือกที่จะจัดชื่อคนหรือตำแหน่งงานเข้าไปภายใต้แต่ละกลุ่ม. ➼ เกณฑ์ 2 ประการที่นิยมใช้ก็ เช่น ความสำคัญของทักษะที่มี (Skills Value) หรือความสามารถพิเศษของทักษะ (Skills Uniqueness) หรือการมีทักษะที่หลากหลาย หรือทักษะที่มีความสำคัญต่อธุรกิจ เป็น...

เศรษฐกิจนอกระบบ (s.464)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ กิจกรรมในระบบเศรษฐกิจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กิจกรรมที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย โดยกิจกรรมที่ถูกกฎหมายก็แบ่งได้เป็นอีก 2 กลุ่ม คือ กิจกรรมเศรษฐกิจในระบบ และ กิจกรรมเศรษฐกิจนอกระบบ. ➼ กิจกรรมในระบบ หมายถึง กิจกรรมที่ลงทะเบียนกับภาครัฐ อยู่ในระบบข้อมูลของราชการ เป็นฐานภาษีของภาครัฐ กำกับดูแลและได้ประโยชน์จากมาตรการภาครัฐ. ส่วนกิจกรรมนอกระบบ หมายถึง กิจกรรมเศรษฐกิจที่ถูกกฎหมายแต่ไม่ได้ลงทะเบียนกับภาครัฐ อยู่นอกมาตรการของทางการ ไม่เสียภาษี และไม่ได้ประโยชน์จากมาตรการทางการ. ➼ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีขนาดของเศรษฐกิจนอกระบบค่อนข้างใหญ่ และเป็นที่มาของการจ้างงานและเป็นฐานรายได้ของคนจำนวนมาก ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจนอกระบบให้เติบโตและมีความสามารถในผลิตสูงขึ้น ก็ถือเป็นการพัฒนาพลังทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของคนไทย. ➼ ทั้งนี้ สิ่งที่รัฐควรทำ คือ นำเศรษฐกิจนอกระบบเข้ารบบ หรือการลดขนาดธุรกิจนอกระบบในระบบเศรษฐกิจลง และเริ่มพัฒนาผู้ประกอบการเพื่อให้บรรลุศักยภาพที่ประเทศมีในด้านการผลิตและการให้บริการ. ➼ อย่างไรก็ดี การดึงผู้ประกอบการนอกระบบเข้าในระบบคว...

OVOP หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งผลิตภัณฑ์ (s.463)

#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" ที่ประเทศไทยได้นำมาใช้พัฒนาธุรกิจภายในประเทศ เป็นแนวคิดจาก จ.โออิตะ ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้ชื่อว่า OVOP หรือ "One Village One Product" (หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งผลิตภัณฑ์). ➼ โมเดล OVOP ของ จ.โออิตะ ถือเป็นโมเดลที่ประสบความสำเร็จและโด่งดังไปทั่วโลก โดยมีสินค้ากว่า 300 รายการ นักท่องเที่ยวกว่า 10 ล้านคนเข้าไปท่องเที่ยวในโออิตะ เปลี่ยนจากจังหวัดที่มีรายต่อหัวต่ำสุดในเกาะคิวชูให้มีฐานะดีขึ้น. ➼ หลักปรัชญาของ OVOP ของ จ.โออิตะ พบว่าประกอบด้วย 3 หลักการ ได้แก่ (1) ท้องถิ่นสู่สากล - เน้นการสร้างประโยชน์จากภูมิปัญญาและทรัพย์สินในท้องถิ่น ให้เป็นพื้นฐานของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้บริโภคได้สัมผัสรสชาติและความภูมิใจของวัฒนธรรมท้องถิ่น. ➼ (2) พึ่งพาตนเองและสร้างสรรค์ - เน้นการพึ่งพาตนเองของผู้คนในท้องถิ่น ภาครัฐเป็นเพียงตัวช่วยให้การหนุนเสริมหรือช่วยเหลือทางเทคนิคเท่านั้น เป็นการพัฒนาจากล่างขึ้นบน เปิดพื้นที่ เปิดอิสระให้ท้องถิ่นสร้างสรรค์เต็มที่. ➼ (3) พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ - เป็นหัวใจของ OVOP ที่ต้องการให้เกิดการพัฒนาคนไ...

คุณลักษณะผู้นำในปัจจุบัน (s.462)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ จากการสำรวจงานวิชาการ พอจะสรุปคุณลักษณะของผู้นำในยุคปัจจุบันออกมาได้เป็น 4 คุณลักษณะด้วยกัน ได้แก่ (1) เป็นผู้นำที่สามารถนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายได้ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา. ➼ ผู้นำต้องสามารถนำพาองค์กรให้ผ่านพ้นช่วงสถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ล่วงหน้าและยากที่จะคาดเดา ขณะเดียวกันก็เป็นผู้นำที่สามารถมองเห็นโอกาสที่มาจากการเปลี่ยนแปลง. ➼ (2) เป็นผู้นำที่สามารถทำงานร่วมกับกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทั้งภายในและภายนอกองค์กร - ทั้งการบริหารและประสานความสัมพันธ์ระหว่าง stakeholders กลุ่มต่างๆ ที่มีความต้องการที่แตกต่างและหลากหลายมากขึ้น รวมถึงการนำองค์กรที่จะประกอบด้วยบุคลากรที่มีทั้งช่วงอายุและความต้องการที่แตกต่างกัน. ➼ (3) เป็นผู้นำที่สามารถทำหน้าที่เป็นโค้ชให้กับคนในองค์กร - โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ต้องการผู้นำแบบเดิมที่สั่ง. ผู้นำที่เป็นโค้ชจะทำหน้าที่กระตุ้น สนับสนุนการพัฒนาของคนในองค์กร ยิ่งองค์กรที่ต้องมีการปรับเปลี่ยน ผู้นำที่เป็นโค้ชจะช่วยนำพาลูกน้องให้พัฒนาและสามารถปรับตัวเข้...

ปัจจัยความสำเร็จของทีมงาน (s.461)

    #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ บริษัทกูเกิล ได้ทำการวิจัยภายในชิ้นหนึ่งชื่อ Project Aristotle ในปี 2016 ซึ่งใช้ข้อมูลภายในบริษัทในการค้นหาว่าเคล็ดลับของความสำเร็จในทีมคืออะไร. ➼ ผลที่ได้จากการวิจัย คือ เคล็ดลับความสำเร็จมาจากวัฒนธรรมองค์กรซึ่งสามารถทำให้ความหลากหลาย (Diversity) เกิดการบูรณาการ (Collaboration) อย่างสมบูรณ์. อย่างไรก็ดี ยังมีองค์การมากมายที่รู้เรื่องเหล่านี้แต่ก็ยังประสบปัญหากับการสร้างให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยทางอารมณ์ (Psychological safety)  ➼ ปัญหาหลัก คือ สมองไม่ได้ถูกสร้างให้เป็นมิตรต่อสิ่งที่แตกต่าง โดยสมองเป็นเหมือนเรดาห์คอยระแวดระวังอะไรก็ตามที่ดูแปลกและไม่เข้าพวก ทำให้สุดท้ายแล้วคนในทีมก็ยังทำงานแบบ Silo และเกิดความแตกแยกมากกว่าความสมานฉันท์. ➼ การเอาชนะเรื่องดังกล่าวสามารถทำได้โดยการสร้าง Trust ความไว้วางใจกัน ซึ่งมีข้อคิดในการจัดการคือ (1) การทำงานบนความหลากหลายมีความยากกว่าที่คิด - แม้เราจะตั้งใจว่า We value diversity แต่สุดท้ายสมองมนุษย์ก็ยังเกิดอติโดยไม่ตั้งใจได้เสมอ ดังนั้นการสร้างวัฒนธรรมจึงต้องอาศัยเวลาและการจัดการการเปลี...

ผลสำรวจความเห็นการทำงานหลังโควิด-19 (s.460)

    #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ ไมเคิล เพจ ประเทศไทย (Michael Page Thailand) บริษัทจัดหางาน ได้เปิดเผยรานงานเรื่อง "รายงานทาเลนท์ เทรนด์ 2022" ในหัวข้อ "The Great X" ซึ่งนำเสนอข้อมูลด้านการจ้างงาน โดยมีความน่าสนใจดังนี้. ➼ ผลสำรวจความคิดเห็นแสดงถึง ผู้คนเริ่มหันเหความสนใจไปยังผลประโยชน์ที่ไม่ใช่ตัวเงินมากขึ้น โดย 69% ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย ยอมไม่ขึ้นเงินเดือน และ/หรือไม่เลื่อนตำแหน่ง เพื่อแลกกับสมดุลของชีวิตการทำงาน. ➼ ทั้งนี้เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น บริษัทต่างๆ ไม่สามารถมองข้ามผลกระทบทางจิตวิทยาที่เกิดขึ้นจากการรวม "งาน" เข้ากับ "ชีวิตส่วนตัว" หลังจากถูกผลักดันให้เข้าสู่การทำงานแบบไฮบริดมาเป็นระยะเวลานาน. พนักงานจำนวนมากไม่ต้องการกลับไปสู่รูปแบบการทำงานแบบก่อนโควิด-19 ที่ต้องทำงานในสำนักงานเท่านั้น. ➼ 82% ของผู้ตอบแบบสอบถามต้องการทำงานในรูปแบบผสมผสาน ดังนั้นบริษัทที่ต้องการใช้รูปแบบการทำงานแบบไฮบริดต้องพิจารณาถึงกลยุทธ์ในการส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมและจัดหาเครื่องมือที่เหมาะสมให้แก่พนักงาน. ➼ ภายหลังจากการระบาดของโควิด-19 จำน...

คุณลักษณะของผู้มีสุขภาพจิตที่ดี (s.459)

#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ ในปี 2564 คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน มีอัตราพยายามฆ่าตัวตาย 6 คนต่อชั่วโมง หรือคิดเป็นจำนวนประมาณ 53,000 คนต่อปี โดยมีการเสียชีวิตราว 4,000 คน. ทั้งนี้ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้ามีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า และ 70% ของผู้ป่วย เสียชีวิตก่อนวัยอันควร. ➼ Dr.Carla Shuman ได้ลงบทความใน Psychology Today เมื่อ 17 มิ.ย.65 โดยระบุคุณลักษณะร่วมกันของบรรดาคนที่มีสุขภาพจิตดีดังนี้ (1) ตื่นขึ้นทุกวันและรู้สึกว่ามีบางสิ่งมีบุญคุณ - ถ้าในแต่ละวันเราสามารถนึกถึงสิ่งที่เราควรขอบคุณได้มากกว่า 1 อย่าง ก็เป็นสัญญาณว่าเราเป็นคนที่สามารถฟื้นกลับสู่สภาพเดิมที่เคยมีความสุขได้ ➼ (2) มีบางสิ่งที่มุ่งรอคอยให้มาถึง - การวางแผนสู่การมีความสุขความพอดีคือสัญญาณของการมองหาประสบการณ์ที่เป็นบวก (3) ปล่อยวางอารมณ์โกรธไม่จมปลักอยู่กับความแค้น - ถ้าเราปล่อยความรู้สึกจมปลักได้ก็จะพบความสงบในชีวิตและมีสุขภาพจิตที่ดี (4) รื่นรมย์กับสิ่งธรรมดาในชีวิต - คนที่มีแนวโน้มมีสุขภาพจิตดีสามารถมีประสบการณ์ที่เป็นบวกได้จากสิ่งที่แสนธรรมดา. ...

การรับมือช่วงเศรษฐกิจถดถอย (s.458)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ จากการศึกษาของ Hardvard, McKinsy, Brain พบว่ามีธุรกิจประมาณ 10% ที่สามารถมีผลการดำเนินงานกลับมาเติบโตได้รวดเร็วภายหลังจากการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ. ➼ โดยบริษัทเหล่านี้ มีการเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะมีแผน กลยุทธ์ และการปรับตัวล่วงหน้ากรณีที่เศรษฐกิจถดถอย และเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นจริง องค์กรเหล่านี้ก็ไม่ได้แตกตื่น แต่มีกลยุทธ์และแผนการดำเนินงานไว้รองรับ. ➼ อ้างถึง งานเขียนต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน Harvard Business Review สามารถสรุปกลยุทธ์สำคัญของบริษัทที่ได้มีการเตรียมพร้อมไว้น่าสนใจ ดังนี้ ➼ (1) ลดต้นทุน โดยเฉพาะต้นทุนการดำเนินงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน การลดต้นทุนจะเน้นการลดต้นทุนการดำเนินงานด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งเมื่อเศรษฐกิจฟื้นจะให้ผลดีกว่ากลุ่มที่ลดต้นทุนโดยการลดพนักงาน ➼ (2) ลดหนี้ บริษัทที่มีหนี้ในระดับที่สูงจะมีความเสี่ยงมากขึ้นในช่วงเศรษฐกิจถดถอย ยิ่งเมื่อมีแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนทางการเงินสูง ในขณะที่ยอดขายลดลง ➼ (3) ลงทุนในดิจิทัลเทคโนโลยี ถ้ามีความเป็นไปได้ที่จะเกิดเศรษฐกิจถดถอยก็ควรยิ่งรีบลงทุนดักหน้า เพร...

เรื่องเล่า กับ การสร้างการเปลี่ยนแปลง (s.457)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ การทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมีวิธีหลักๆ ด้วยกัน 3 หนทาง ได้แก่ (1) การขุ่มขู่ใช้กำลังให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (2) การใช้เงินเป็นอำนาจ และ (3) การใช้เรื่องเล่าให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ➼ ในยุคปัจจุบันที่มีเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟื่องฟู ทำให้เกิดเรื่องเล่ามากมาย และทำให้เห็นว่าคนบางคนที่เล่าเรื่องได้ดี สามารถทำให้ผู้ที่ได้ฟังยอมรับการเปลี่ยนแปลงโดยสมัครใจ ซึ่งดีกว่าการใช้กำลังหรืออำนาจเงินตรา ➼ เครดิตของคนเล่าเรื่องมีความสำคัญมากในการสร้างความผูกพันของผู้คนเข้ากับสาระสำคัญของเรื่องเล่า เมื่อมีความผูกพัน การให้ความร่วมมือในการสร้างการเปลี่ยนแปลงก็จะตามมาด้วยความเต็มใจ ➼ เรื่องเล่าที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงมักจะเริ่มด้วยการสร้างความรู้สึกว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องของทุกคน เป็นเรื่องที่ทุกคนมีส่วนได้เสีย ขึ้นต้นด้วยการแสดงความเป็นพวกเดียวกัน มีความเข้าอกเข้าใจกัน ซึ่งคนเราจะตั้งใจฟังเรื่องเล่าก็ต่อเมื่อรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนั้น ➼ ทั้งนี้การเล่าเรื่องต้องหลีกเลี่ยงเรื่องราวทางเทคนิคที่เข้าใจยาก เล่าอย่างมีอารมณ์ร่วมกับคนรับฟัง ไ...

18 ช่วงชีวิต กับ การแบ่งกลุ่มคน (s.456)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย ได้ออกมาระบุว่าในปี 2565 ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ โดยมีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ และในปี 2574 จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด โดยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 28% ➼ การเหมารวมผู้ที่เกิน 60 ปี เป็นผู้สูงวัย อาจไม่เหมาะสมเนื่องจากการพัฒนาทางการแพทย์ที่ดีขึ้น และการรู้จักที่จะดูแลสุขภาพของคนไทย ทำให้อายุเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นมาก และบุคคลกลุ่มนี้จำนวนมากก็ยังใช้ชีวิตคล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง และมีคุณภาพ. ➼ หนังสือเรื่อง Stage (Not Age) ซึ่งเขียนโดย Susan Wilner Golden ได้เสนอแนวคิดว่าเพื่อทำความเข้าใจต่อกลุ่มผู้ที่อายุเกิน 60 ปีนั้น แทนที่จะใช้ช่วงอายุมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา เราควรจะใช้สิ่งที่เรียกว่า Stage มาพิจารณาแทน ➼ Stage ชีวิตแบ่งออกเป็น 18 ช่วง ได้แก่ 1.Starging 2.Growing 3.First Launch 4.Experimenting 5.Continuous learning 6.Developing financial security 7.Parenting/family 8.Caregiving 9.Optimizing health 10.Repurposing ➼ 11.Relau...

Urban Air Mobility (s.455)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ การเคลื่อนย้ายทางอากาศในเขตเมืองและชานเมือง (Urban Air Mobility: UAM) จะเป็นก้าวสำคัญในการผลิกโฉมการเดินทางในอนาคต โดย UAM คือระบบขนส่งทางอากาศที่ให้บริการขนส่งทั้งผู้โดยสารและพัสดุสินค้าบริเวณภายในเมืองและชานเมืองในระดับความสูงต่ำ  ➼ หนึ่งในพยาพาหนะหลักที่ให้บริการคืออากาศยานไฟฟ้าที่ขึ้น-ลงแนวดิ่ง (electric vertical take-off and landing aircraft (eVTOL) ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่โดรนขนส่งพัสดุจนถึงเครื่องบินขนส่งผู้โดยสารขนาดเล็ก ➼ Mckinsey ประเมินว่าการลงทุน UAM เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทศวรรษที่ผ่านมาและยิ่งเร่งตัวขึ้นในปี 2021 จากมูลค่าลงทุนถึง 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ. ในปี 2021 มีบริษัทลงทุนด้านนี้ถึง 5 แห่งที่เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก. ทั้งนี้ KPMG ประเมินว่าในปี 2035 มูลค่าตลาดการให้บริการ UAM จะอยู่ที่ 5.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็น 1.19 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2040. ➼ ดูไบถือเป็นเมืองแรก ๆ ที่วางแผนนำ UAM มาขนส่งผู้โดยสารตั้งแต่ปี 2017 โดยร่วมมือกับ Volocopter และ EHang ซึ่งเป็นผู้ผลิต eVTOL และเตรียมเปิดให้บริการภายใน 1-...

แนวโน้มอาวุธนิวเคลียร์ (s.454)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ สถาบันวิจัยสินติภาพระหว่างประเทศแห่งกรุงสตอกโฮล์ม (Stockholm International Peace Research หรือ SIPRI) ได้ออกรายงานแนวโน้มเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์พบว่า มีตัวเลขบ่งชี้ว่าอาวุธร้ายแรงนี้กำลังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ลดลงในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาหลังจากสงครามเย็นยุติ. ➼ รายงานชี้ว่า 2 ประเทศมหาอำนาจมีอาวุธนิวเคลียร์รวมกันมากที่สุด โดยรัสเซียมี 4,477 ลูก/หัวรบ และสหรัฐอเมริกามี 3,708 ลูก ซึ่งทั้งสองประเทศนี้เคยมีจำนวนมากกว่านี้มาก่อนและลดจำนวนลงตามสัญญาที่ทำกันหลังสงครามเย็นยุติ. ➼ นอกจากทั้งสองประเทศที่กล่าวมาแล้ว ยังมีจีนที่มีจำนวนหัวรบ 350 ลูก ฝรั่งเศส 290 ลูก และสหราชอาณาจักร 180 ลูก. โดยจีนเป็นประเทศที่ผลิตอาวุธชนิดนี้เพิ่มขึ้นมากที่สุด. นอกจากนี้ยังมีอินเดีย และปากีสถานที่เป็นเพื่อนบ้านที่มีความขัดแย้งกันมีจำนวน 165 และ 160 ลูกตามลำดับ. ➼ ทั้งนี้ แม้หลายประเทศจะไม่ได้ผลิตหัวรบมากขึ้น แต่ก็ยังทำการวิจัยและพัฒนาต่อไปซึ่งจะยังคงสร้างอาวุธที่มีอานุภาพสูงกว่าจำพวกที่มีอยู่แล้วเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว. นอกจากนั้น ประเทศที่ไ...

ผลสำรวจการกลับเข้าทำงานในออฟฟิต (s.453)

    #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ การสำรวจเทรนด์ระดับโลกที่เกี่ยวกับการให้พนักงานเริ่มกลับมาทำงานในที่ทำงานมากขึ้น พบว่าพนักงานจำนวน 2 ใน 3 อาจพิจารณาลาออกจากที่ทำงานหากต้องเข้าออฟฟิตเต็มเวลา ➼ ในประเทศไทย บ.สลิงชอท กรุ๊ป ได้สำรวจลูกค้าจำนวน 189 ท่าน ซึ่งได้ผลการสำรวจน่าสนใจ ดังนี้ (1) องค์กรส่วนใหญ่ในประเทศไทยเริ่มให้พนักงานกลับเข้าทำงานในออฟฟิต โดยรูปแบบการทำงานเป็นแบบ Hybrid และกลับสู่ออฟฟิต 100% เป็นทางเลือก. มีเพียง 1% เท่านั้นที่ปรับรูปแบบเป็น remote ➼ (2) 38% ของผู้ตอบแบบสำรวจมองว่าประสิทธิภาพการทำงานแบบ Hybrid และ Remote ไม่ได้แตกต่างกับการทำงานที่อออฟฟิต ในขณะที่ 32% มองว่ามีประสิทธิภาพดีกว่า โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการเงิน และอีก 30% มองว่ามีประสิทธิภาพลดลง โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม ➼ (3) การประสานความร่วมมือระหว่างพนักงานเป็นสิ่งที่องค์กรกังวลที่สุด โดยมีแผนรับมือ เช่น สื่อสารเจตจำนงทั้งองค์กร ทำความเห็นความสอดคล้องระหว่างเป้าหมายองค์กร/ทีม/บุคคล/และการประสานระหว่างแผนก พัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม เป็นต้น ➼ (4) องค์กรส่วนใหญ่เตรียมความพร้อมสำหรับการกลับเข้...

ปัญหาของคนเก่งเมื่อต้องขึ้นตำแหน่งที่สูงขึ้น (s.452)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼  กฎของปีเตอร์ (The Peter Principle) เกิดขึ้นในปี 1969 โดย ลอเรนซ์ เจ. ปีเตอร์ (Lawrence J. Peter) ศาสตราจารย์ด้านศึกษาศาสตร์และจิตวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยเซาท์เทิร์นแคลิฟอร์เนีย และ เรย์มอนด์ ฮัลล์ (Raymond Hall) ซึ่งเป็นนักเขียน ➼ กฎของปีเตอร์ได้กลายเป็นสิ่งที่พบได้จริงในชีวิตประจำวัน และเป็นสิ่งที่อธิบายว่าทำไมผู้นำหรือผู้บริหารจำนวนไม่น้อย เมื่อได้ขึ้นไปอยู่ในตำแหน่งที่สูงสุดแล้ว กลับมีผลงานที่ย่ำแย่ เมื่อเทียบกับก่อนที่เขาจะขึ้นไปสู่ตำแหน่งนั้น ➼ โดยทฤษฎีได้กล่าวมา การจัดโครงสร้างลำดับชั้นองค์กร ส่งผลให้พนักงานทุกคนมีโอกาสที่จะถูกเลื่อนตำแหน่งไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสิ้นสุดสายอาชีพ ณ จุดที่ระดับความรู้ความสารถไปไม่ถึง หรือในตำแหน่งที่ตัวเองไม่ได้เก่ง (level of incompetence) และกลายเป็นปัญหาทั้งของตนเอง เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง และองค์กรในที่สุด ➼ ตำแหน่งยิ่งสูงเท่าใด ก็ยิ่งไร้ความเก่งตามไปด้วย เพราะตำแหน่งสูงขึ้นแต่ระดับความคิด (level of thinking) อาจไม่ได้โตตาม ยังคงยึดติดกับวิธีคิดแบบเดิมๆ เหมือนสมัยที่ยังเป็นพนักงานหรือผู้บริหารระด...