#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ การ Upskill/Reskill ถือเป็นการเตรียมพร้อมของพนักงานให้สามารถรองรับและพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง. อย่างไรก็ดี พบว่าการ Upskill/Reskill รวมทั้งการเตรียมพร้อมของพนักงานยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวัง เพราะมักจะทำในลักษณะ One Size Fit All.
➼ Employee Segmentation เป็นสิ่งที่หลายองค์กรเริ่มนำมาปฏิบัติ เพื่อแบ่งกลุ่มพนักงานตามเกณฑ์ต่างๆ ที่จะกำหนดขึ้นและมีกลยุทธ์หรือแนวปฏิบัติสำหรับพนักงานในแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกัน ซึ่งหลักการนี้คล้ายๆ กับที่นักการตลาดทำเรื่อง Customer Segmentation.
➼ โดยองค์กรจำนวนไม่น้อยเริ่มมีเอาเรื่องทักษะหรือ Skills มาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มพนักงาน แนวทางที่พบเห็นบ่อยคือ การเลือกเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับทักษะมา 2 ประการ และทำเป็นตาราง 2x2 เพื่อให้ได้พนักงานออกเป็น 4 กลุ่ม จากนั้นก็สามารถเลือกที่จะจัดชื่อคนหรือตำแหน่งงานเข้าไปภายใต้แต่ละกลุ่ม.
➼ เกณฑ์ 2 ประการที่นิยมใช้ก็ เช่น ความสำคัญของทักษะที่มี (Skills Value) หรือความสามารถพิเศษของทักษะ (Skills Uniqueness) หรือการมีทักษะที่หลากหลาย หรือทักษะที่มีความสำคัญต่อธุรกิจ เป็นต้น. ทั้งนี้ การเลือกใช้เกณฑ์ใดนั้นก็ขึ้นกับทิศทาง กลยุทธ์ และความต้องการของแต่ละองค์กรเป็นหลัก.
➼ ข้อดีของการทำ Employee Segmentation คือ ช่วยให้กลยุทธ์ด้านคนขององค์กรตรงกลุ่มเป้าหมายและสอดคล้องต่อทิศทางขององค์กรมากขึ้น พร้อมกันนั้นก็ทำให้การบริหารคนภายในองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้มากขึ้น.
อ้างอิง: "การแบ่งกลุ่มพนักงานตามทักษะ" พสุ เดชะรินทร์, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น