#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ การเคลื่อนย้ายทางอากาศในเขตเมืองและชานเมือง (Urban Air Mobility: UAM) จะเป็นก้าวสำคัญในการผลิกโฉมการเดินทางในอนาคต โดย UAM คือระบบขนส่งทางอากาศที่ให้บริการขนส่งทั้งผู้โดยสารและพัสดุสินค้าบริเวณภายในเมืองและชานเมืองในระดับความสูงต่ำ
➼ หนึ่งในพยาพาหนะหลักที่ให้บริการคืออากาศยานไฟฟ้าที่ขึ้น-ลงแนวดิ่ง (electric vertical take-off and landing aircraft (eVTOL) ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่โดรนขนส่งพัสดุจนถึงเครื่องบินขนส่งผู้โดยสารขนาดเล็ก
➼ Mckinsey ประเมินว่าการลงทุน UAM เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทศวรรษที่ผ่านมาและยิ่งเร่งตัวขึ้นในปี 2021 จากมูลค่าลงทุนถึง 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ. ในปี 2021 มีบริษัทลงทุนด้านนี้ถึง 5 แห่งที่เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก. ทั้งนี้ KPMG ประเมินว่าในปี 2035 มูลค่าตลาดการให้บริการ UAM จะอยู่ที่ 5.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็น 1.19 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2040.
➼ ดูไบถือเป็นเมืองแรก ๆ ที่วางแผนนำ UAM มาขนส่งผู้โดยสารตั้งแต่ปี 2017 โดยร่วมมือกับ Volocopter และ EHang ซึ่งเป็นผู้ผลิต eVTOL และเตรียมเปิดให้บริการภายใน 1-2 ปีนี้ ส่วนในสหรัฐฯ Uber วางแผนจะให้บริการในปี 2023 ขณะที่ผู้ผลิต eVTOL อย่าง Joby กับ Archer วางแผนจะให้บริการในลอสแอนเจลิสในปี 2024.
➼ อย่างไรก็ดี ความท้ายในการพัฒนา UAM มี 3 ประเด็น คือ 1) กฎระเบียบข้อบังคับ เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ 2) โครงสร้างพื้นฐานและบุคลากร ซึ่งต้องเร่งพัฒนาและขยายให้ครอบคลุม และ 3) เทคโนโลยี UAM ที่จะต้องพัฒนาระบบตรวจจับและป้องกันอุบัติเหตุ
อ้างอิง: "Urban Air Mobility.. แท็กซี่ลอยฟ้ากับจินตนาการที่กำลังจะเกิดขึ้นจริง" ปุญญภพ ตันติปิฎก, SCB EIC
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น