#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย ได้ออกมาระบุว่าในปี 2565 ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ โดยมีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ และในปี 2574 จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด โดยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 28%
➼ การเหมารวมผู้ที่เกิน 60 ปี เป็นผู้สูงวัย อาจไม่เหมาะสมเนื่องจากการพัฒนาทางการแพทย์ที่ดีขึ้น และการรู้จักที่จะดูแลสุขภาพของคนไทย ทำให้อายุเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นมาก และบุคคลกลุ่มนี้จำนวนมากก็ยังใช้ชีวิตคล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง และมีคุณภาพ.
➼ หนังสือเรื่อง Stage (Not Age) ซึ่งเขียนโดย Susan Wilner Golden ได้เสนอแนวคิดว่าเพื่อทำความเข้าใจต่อกลุ่มผู้ที่อายุเกิน 60 ปีนั้น แทนที่จะใช้ช่วงอายุมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา เราควรจะใช้สิ่งที่เรียกว่า Stage มาพิจารณาแทน
➼ Stage ชีวิตแบ่งออกเป็น 18 ช่วง ได้แก่ 1.Starging 2.Growing 3.First Launch 4.Experimenting 5.Continuous learning 6.Developing financial security 7.Parenting/family 8.Caregiving 9.Optimizing health 10.Repurposing
➼ 11.Relaunching 12.Resetting life priorities 13.Transition 14.Portfolio 15.Renaissance 16.Sidepreneur 17.Legacy 18.End of life
➼ ในแต่ละช่วงอายุเราสามารถมีได้มากกว่าหนึ่งช่วงชีวิต และช่วงชีวิตหนึ่งอาจปรากฏในหลายช่วงอายุได้. ทั้งนี้หากใช้ช่วงชีวิตเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง Segmentation เราก็จะสามารถพัฒนาสินค้าและบริการ ที่ตอบสนองกลุ่มเป้าหมายในแต่ละ Segment ได้ดีขึ้น
อ้างอิง: "จังหวะชีวิต ของผู้ที่วัยเกิน 60 ปี" พสุ เดชะรินทร์, SCB EIC
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น