#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ ในไตรมาสแรกของปี 2565 ประเทศไทยมีระดับหนี้ครัวเรือนประมาณร้อยละ 89 ของ GDP สูงขึ้นอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2564 ที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 66 ของ GDP.
➼ เมื่อพิจารณาจำนวนครัวเรือนที่เป็นหนี้ พบว่าอยู่ในระดับค่อนข้างคงที่ประมาณร้อยละ 50 ของครัวเรือนทั้งหมด สะท้อนให้เห็นว่าครัวเรือนที่เป็นหนี้มีแนวโน้มการสร้างหนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง.
➼ ทั้งนี้การเป็นหนี้ไม่ใช่เป็นสิ่งไม่ดี แต่ขึ้นอยู่กับว่าหนี้ที่เกิดขึ้นนำไปใช้ทำอะไร ถ้าเป็นหนี้ที่สร้างขึ้นเพื่อนำไปซื้อทรัพย์สิน เช่น บ้าน ที่ดิน ถือว่าเป็นการสร้างหนี้ที่สร้างมูลค่า แต่ถ้าเป็นการสร้างหนี้เพื่อนำไปใช้จ่ายแล้วหมดไปถือว่าไม่สร้างมูลค่า.
➼ การสร้างหนี้ของภาคครัวเรือนพบว่าส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่ไม่ได้สร้างมูลค่าแต่เป็นการสร้างหนี้เพื่อนำมาใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคมากที่สุด หรือประมาณร้อยละ 38 ของหนี้ทั้งหมด.
➼ ในปัจจุบันยังมีประชาชนเป็นจำนวนมากที่ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ทางการเงิน และประชาชนจำนวนไม่น้อยยังมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว จึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับการวางแผนทางการเงิน แต่มุ่งให้ความสำคัญกับการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้เป็นหลัก.
➼ ในการยกระดับทักษะทางการเงินให้ทั่วถึงและได้ผลอย่างเป็นระบบ จึงควรมีการส่งเสริมความรู้ทางการเงินในทุกช่วงของชีวิตตั้งแต่ช่วงศึกษา ช่วงเข้าทำงาน และช่วงทำงานในองค์กรต่างๆ เพื่อปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง.
อ้างอิง: "หนี้ครัวเรือนไทย ปัญหายาวนานที่ยังมีทางออก" ประณีต โชติกีรติเวช และ นภัทร พัฒนปรีชา, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น