#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ ปัญหาการขาดแคลนน้ำจากภาวะโลกร้อนและภัยแล้งถือเป็นวิกฤตของภาคธุรกิจ เพราะการใช้น้ำในซัพพลายเชนทั้งหมดของภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนประมาณ 2 ใน 3 ของทรัพยากรน้ำจืดสำหรับใช้อุปโภคบริโภค.
➼ ข้อมูลจาก World Resource (WRI) ระบุว่าภายในปี 2573 กว่า 50 ประเทศทั่วโลกจะเผชิญกับภาวะขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรม การเกษตร และในครัวเรือน. โดยประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในระดับกลาง (อันดับที่ 77).
➼ สำหรับไทยในพื้นเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ก็ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเช่นกัน โดยอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และสิ่งทอ.
➼ องค์กรชั้นนำทั่วโลกกำลังร่วมมือภายใต้ CEO Water Mandate ซึ่งเป็นโครงการภายใต้กรอบความร่วมมือการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) ที่ดึงเอาผู้นำภาคธุรกิจในระดับโลกมาร่วมแก้ปัญหาความท้าทายเรื่องน้ำ.
➼ หลายองค์กรกำลังขับเคลื่อนเรื่องการใช้น้ำสุทธิเป็นบวก (Net Positive Water) โดยมีเป้าหมายลดการใช้ทรัพยากรน้ำและเติมน้ำสะอาดกลับคืนสู่แหล่งน้ำในท้องถิ่นให้ได้มากกว่า 100%.
➼ ปัจจุบันเงินลงทุนในธุรกิจ startup ที่พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนของการใช้ทรัพยากรน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปีที่ผ่านเงินลงทุนใน Water Tech มีมูลค่าสูงถึง 470 MUSD และมีกองทุนเปิดใหม่มากมาย.
➼ ทั้งนี้ นวัตกรรมเพื่อการบริหารทรัพยากรน้ำ การรีไซเคิลน้ำ และการลดการใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรม คือ คำตอบสู่ความยั่งยืนของการจัดการน้ำในภาคธุรกิจ และเป็นการพลิกวิกฤตไปสู่เส้นทางของความยั่งยืน.
อ้างอิง: "Net-Zero Water พลิกวิกฤตสู่ความยั่งยืน" ต้องหทัย กุวานนท์, กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น