#จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy
➼ บทความใน Harvard Business Review ชื่อ Are you ready to serve on a board ที่ได้ศึกษาและพบว่ากรรมการบริษัทที่ประสบความสำเร็จ จะมีพื้นฐานความรู้และทักษะที่สำคัญ 5 ประการ.
➼ (1) การเงิน. โดยกรรมการจะต้องเข้าใจต่อความหมายของตัวเลขทางการเงินที่สำคัญของบริษัท และผลกระทบของตัวเลขทางการเงินต่อการดำเนินงานของบริษัท.
➼ (2) กลยุทธ์. กรรมการควรสามารถคิดในเชิงกลยุทธ์ว่าการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของปัจจัยต่างๆ จะส่งผลต่อบริษัทอย่างไร ผลกระทบจากการดำเนินงานที่สำคัญของคู่แข่งและการเปลี่ยนแปลงในตัวลูกค้า การมองภาพในอนาคตและมองเห็นว่ากลยุทธ์ของบริษัทจะส่งผลต่อตัวเลขทางการเงินของบริษัทอย่างไร.
➼ (3) การบริหารความสัมพันธ์. กรรมการต้องสามารถสร้างความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันที่ดีทั้งระหว่างกรรมการกับผู้บริหารกับผู้ถือหุ้นและกับบุคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทักษะการสื่อสารในห้องประชุมต้องรวมถึงการรู้จักที่จะฟังด้วย และเมื่อฟังแล้วต้องจับประเด็นและคิดตามให้ได้อย่างรวดเร็ว.
➼ (4) ความเข้าใจต่อบทบาทของตนเอง. ทั้งบทบาทของความเป็นกรรมการที่แตกต่างจากผู้บริหาร และเข้าใจในบทบาทของตนเองด้วยว่าตนเองได้รับการเลือกเข้ามาร่วมเป็นกรรมการเพราะสาเหตุใด และบุคคลอื่นมีความคาดหวังต่อตนเองอย่างไร.
➼ (5) การสร้างวัฒนธรรมที่ดี. มีส่วนร่วมในการสร้างวัฒนธรรมในห้องประชุมคณะกรรมการบริษัท ทั้งการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ การรับฟังความเห็นที่แตกต่างจากผู้อื่นหรือการมุ่งเน้นไปที่ประโยชน์ของบริษัท เป็นต้น.
➼ ทั้งนี้ เห็นได้ว่าบทบาท ความคาดหวัง และความรับผิดชอบของกรรมการบริษัทได้เปลี่ยนไปจากอดีต ดังนั้น สำคัญที่สุดคือผู้ที่เป็นกรรมการนั้นจะต้องไม่หยุดที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา.
อ้างอิง: "บทบาทกรรมการที่เปลี่ยนแปลงไป" พสุ เดชะรินทร์, กรุงเทพธุรกิจ
บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน. ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น