ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โอกาสในท่ามกลางวิกฤตไวรัสโควิด-19


วิกฤตและโอกาสในมุมขององค์กร

+ เป็นช่วงที่องค์กรจะสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน โดยมีแรงต่อต้านที่น้อยจากพนักงาน
การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพหรือเปลี่ยนวิธีการทำงาน ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่องค์กรมักเจอแรงต่อต้านโดยเฉพาะจากพนักงาน เนื่องจากคนเราจะมีความเฉี่อยต่อสิ่งที่ทำอยู่ในปัจจุบันและหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนเปลงซึ่งต้องใช้แรงการและแรงใจ. โดยหากต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสมัครใจ ผลประโยชน์ที่พนักงานคิดว่าจะได้รับอาจต้องสูงถึง 50% ของผลประโยชน์ที่พนักงานรู้สึกได้รับในปัจจุบันเพื่อให้ปราศจากแรงต่อต้าน. อย่างไรก็ดีการชี้แจงหรือแสดงให้เห็นถึงผลประโยชน์ดังกล่าว ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่ยากสำหรับองค์กร เนื่องจากผลประโยชน์ในหลายครั้งจะตกอยู่กับองค์กรในภาพรวมมากกว่ากับเพียงหน่วยงานหรือพนักงานคนใด จึงทำให้เกิดแรงต่อต้าน
ในทางกลับกันในปัจจุบัน ซึ่งเป็นช่วงวิกฤตเช่นนี้ เป็นช่วงที่พนักงานส่วนใหญ่จะรู้สึกเข้าใจในสถานการณ์และรู้สึกถึงผลกระทบจากการที่ไม่สามารถทำงานได้ ทำให้การปรับเปลี่ยนวิธีการใดๆ ในการทำงาน จึงมีแรงต่อต้านที่ต่ำและส่วนใหญ่มักจะรู้สึกว่ามีประโยชน์ (มากกว่าการที่ไม่สามารถทำอะไรได้เลย)


+ องค์กรมีเวลาวิเคราะห์ธุรกิจของตนเองเพื่อปรับปรุง
ในภาวะปกติที่การแข่งขันธุรกิจเป็นไปอย่างเข้มข้น องค์กรส่วนใหญ่จะใช้เวลาส่วนมากไปกับการวางแผนเพื่อขยายธุรกิจไปข้างหน้า ในขณะที่หน่วยงานภายในก็สาละวนกันงานที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละวัน. ความโกลาหลจากความไม่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารหรือไม่มีประสิทธิภาพในการ flow งา การประชุมออกสินค้าหรือบริการใหม่ การรับมือกับแก้ปัญหาเล็กๆ น้อยๆรายวัน ดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติขององค์กรในช่วงที่ผ่านมา สิ่งเหล่านี้ทำให้การปรับปรุงหรือพัฒนาการทำงานเดิมที่มีดูเหมือนเป็นเรื่องที่สำคัญลำดับท้ายๆ เมื่อเทียบกับความสำคัญของการขยายธุรกิจ การทำยอดขายให้ได้ตามเป้า
เมื่อวิกฤตนำพาให้ธุรกรรมต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องของการขายหยุดลง. กิจกรรมต่างๆ ที่เมื่อก่อนกินเวลามากครึ่งหนึ่ง ของธุรกิจต้องหยุดลง ทำให้เวลาเหลือมากยิ่งขึ้น. สิ่งนี้ทำให้ธุรกิจได้เวลากลับคืนมา เพื่อตรวจสอบจุดอ่อน ตรวจสอบขยะที่อยู่ใต้พรมต่างๆ ของระบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน. พิจารณาสิ่งไหนควรปรับปรุง สิ่งไหนควรแก้ไข สิ่งไหนมีมากเกินไป สิ่งไหนควรตัดออก สิ่งไหนควรเพิ่มเติม เพื่อให้เมื่อทุกอย่างกลับคืนสู่ปกติแล้ว ธุรกิจจะมีรากฐานที่เข้มแข็งมากขึ้น ในการที่มุ่งไปสู่ข้างหน้าได้อย่างมั่งคง

+ องค์กรสามารถหาคนมีความสามารถได้ง่ายขึ้นด้วยค่าจ้างที่เอื้อมมือถึง
จากการที่บริษัท องค์กร ห้างร้าน โรงงาน หลายแห่งเริ่มทยอยปิดกิจการ เราเริ่มได้เห็นผลกระทบโดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Supply Chain ของการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ทัวร์ สายการบิน ร้านอาหาร นวดสปา เป็นต้น เริ่มเห็นการปิดตัว. โรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่กลางน้ำของ Supply Chain ในระดับ Global เริ่มเห็นผลกระทบโดยการลด OT ปรับลดพนักงานและกระทั่งปิดกิจการ. กลุ่มบริษัทพวก Startup ที่ยังขาดทุนอยู่ อยู่ในช่วงเริ่มต้น หรือมีสายป่านไม่ยาวนักและต้อง raise fund ในรอบต่อไป. กลุ่มธนาคาร หลักทรัพย์ ที่แทบไม่มีธุรกรรมการเงินโดยการรายได้หลักจากการปล่อยกู้ พนักงานในสาขา พนักงานวิเคราะห์ เป็นต้น เริ่มมีความเสี่ยงจากหน้าที่การงาน. พนักงานที่อยู่ในช่วงทดลองงานก็เป็นอีกกลุ่มที่น่าจะมีความเสี่ยงหากสภาพเศรษฐกิจยังยืดเยื้อเช่นปัจจุบัน.
เราจะเห็นแรงงานที่ตกงานหรือถูกปรับลดงานเหล่านี้เข้าสู่ตลาดแรงมากขึ้น ตลาดแรงงานนี้มีทั้งคนทั่วไปที่เป็น unskilled Worker กระทั่งพนักงานที่เป็น professional ที่เริ่มถูกให้ออกงาน ซึ่งในภาวะปกติ ค่าจ้างหรือเงินเดือนเหล่านั้นอาจสูงกระทั่งองค์กรไม่สามารถจ้างงานได้ แต่ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ องค์กรที่มีศักยภาพพร้อมและแสวงหาคนเก่งมีฝีมือ อาจถือว่าเป็นช่วงที่ดีมากที่สุดช่วงหนึ่ง.


- องค์กรมีความเสี่ยงเรื่องรายได้ที่คู่ค้าจะไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการให้แก่เรา
องค์กรอาจต้องวิเคราะห์รายได้รายจ่ายให้ถ้วนถี่ และใช้จ่ายอย่างมีสติ เพื่อรักษาเงินสดให้นานที่สุด. การวิเคราะห์คู่ค้าและประเมินถึงผลกระทบของการชำระเงินของคู่ค้าก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะต้องประเมินให้ถี่ขึ้นในปัจจุบัน. อนาคตการมีวงเงินกู้ระยะสั้นกับธนาคาร อาจเป็นสิ่งจำเป็นที่สามารถเบิกถอนใช้ได้ในยามฉุกเฉิน เนื่องจากความผันผวนของธุรกิจมีแนวโน้มที่เริ่มเป็นสิ่งที่คู่กับธุรกิจและสังคมจนถือเป็นเรื่องปกติใหม่ของการทำกิจการ
นอกจากผลกระทบที่มีต่อภาคธุรกิจในปัจจุบันแล้ว องค์กรยังมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบดังกล่าวเป็นระยะเวลายาวนานออกไปในอนาคต ซึ่งอาจสูงถึง 1 ปีกว่าที่สถานการณ์จะเริ่มกลับมาปกติ แต่สิ่งหนึ่งที่ยากต่อการประเมินและเป็นความเสี่ยงอย่างมาก คือ คำถามที่ว่าภายหลังจากวิกฤตนี้ ภาพรวมของธุรกิจมหภาคจะเป็นอย่างไร ? ธุรกิจเรายังจำเป็นต่อสภาพแวดล้อมในธุรกิจอนาคตอีกไหม ? ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจเช่าสำนักงาน ซึ่งหากองค์กรต่างๆ สามารถก้าวผ่านการทำงานในลักษณะ work @home ในช่วงวิกฤตนี้แล้ว คำถามคือภายหลังช่วงวิกฤต ธุรกิจเหล่านั้นยังคงต้องการสำนักงานอีกไหม. หรือธุรกิจการผลิต โรงงานที่อยู่ใน supply chain ต่างๆ ที่ปัจจุบันไม่สามารถผลิตได้ซึ่งอาจเกิดจากการ demand ที่ลดลงหรือการเปลี่ยนแปลงเส้นทางของ supply chain ที่อิงกับ suply chain ที่อื่นมากขึ้น คำถามคือ ธุรกิจจะยังคงอยู่ในสาย supply chain อยู่หรือไม่ ? ทั้งนี้อาจรวมไปถึงธุรกิจการศึกษาที่แทบทุกแห่งเริ่มให้มีการเรียนการสอน online แต่คำถามสำคัญอย่างหนึ่ง คือ ปัจจุบันธุรกิจได้เตรียมตัวกับ online ไว้หรือยัง ซึ่งหากสถานการณ์เริ่มกลับมา การเรียน online อาจเป็นสิ่งที่ได้รับยอมรับมากขึ้นและผู้ที่มีระบบที่พร้อมอาจเป็นผู้ที่จะมีความได้เปรียบ.


- หน่วยงานภายในองค์กรส่วนใหญ่ยังทำงานใน Mode Offline
องค์กรที่ทำธุรกิจมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งที่ทำงานมีบุคลากรส่วนใหญ่อายุ 45 ขึ้นไป มักจะมีกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ Offline หรือหมายถึงการทำงานที่ใช้ technology มาช่วยให้เกิดความคล่องตัวของการ flow ของงานที่ต่ำ งานส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของเอกสารกระดาษที่ต้องการการนำเสนอและอนุมัติเป็นลำดับขั้น ซึ่งข้อดีคือ ความถูกต้องแม่นยำ แต่ข้อเสียคือขั้นตอนที่ยุ่งยาก ช้า และต้องอาศัยการส่งมอบในทางกายภาพ Physical Delivery เพื่อให้เกิดการส่งงานจากหน้าที่หนึ่งไปยังอีกหน้าที่หนึ่ง. โดยหากไม่มีการนำเสนอและลงนามในเอกสารแล้ว flow งานจะหยุดในตำแหน่งนั้น ซึ่งรอจนกว่ามีการดำเนินการจึงจะเคลื่อนไปยังขั้นตอนต่อไป
งานหลายประเภทเป็นงานที่ไม่สามารถจะรอหรือหยุดเป็นระยะเวลานานได้ ซึ่งการรอหรือหยุดดังกล่าวจะส่งผลเสียหายแต่องค์กรเป็นอย่างมาก อาทิเช่น งานด้านการขาย งานการเงินที่ต้องมีการรับเงิน ชำระเงินให้แก่ supplier ต่างๆ เป็นต้น สิ่งนี้หากองค์กรยังไม่สามารถ leverage ประโยชน์จาก technology ได้อย่างเหมาะสม ก็จะถือเป็นความท้าทายอย่างมากในการทำให้ flow งานดังกล่าวเดินหน้าต่อไปในนามวิกฤต


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...