ภาวะหมดไฟ - องค์กร WHO (World Health Organization) ได้ยอมรับอย่างเป็นทางการว่าหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดการภาะวหมดไฟเป็นเรื่องในระดับองค์กร ซึ่งเปลี่ยนไปจากเดิมที่เป็นเรื่องส่วนบุคคล.
อย่างไรก็ดียังมีแง่มุมที่มีดูเหมือนขัดแย้ง เนื่องจากภาวะหมดไฟไม่ได้ถูกจัดให้เป็นเงื่อนไขทางการแพทย์ ซึ่งทำให้ภาวะหมดไฟจึงดูเหมือนไม่ใช่ความรับผิดชอบของนายจ้างมากนัก แต่กลับเป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพของบุคคล ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่เกี่ยวข้องจำนวนมากที่เกิดขึ้นตามมา
จากการศึกษาของ APA (American Psychological Association) พบว่าผู้ที่มีภาวะหมดไฟจะมีความกระตือรือร้นในการเปลี่ยนงานสูงกว่าคนภาวะปกติถึง 2.6 เท่า มีโอกาสที่จะลางานด้วยสาเหตุป่วยมากกว่าถึง 63% และมีโอกาสที่เหตุต้องได้รับการรักษาฉุกเฉินมากกว่าถึง 23% เมื่อเทียบกับคนที่ไม่มีภาวะหมดไฟ
Frederick Herzberg ได้กล่าวถึงปัจจัย 2 อย่าง ในทฤษฎีแรงจูงใจ-สุขอนามัยของเขา โดยกล่าวถึงสิ่งที่สร้างแรงจูงในการทำงานกับความจำพื้นฐานที่ต้องมี ที่จะทำให้พนักงานเกิดความพึงพอใจในงาน โดย
- ความพึงพอใจในงาน และ ความไม่พึงพอใจในงาน เป็นสิ่งที่เป็นอิสระต่อกัน หมายถึง คนๆ หนึ่งสามารถที่จะพึงพอใจในงาน และ ไม่พึงพอใจในงาน ในขณะเดียวกันได้
- การจูงใจมีความแตกต่างจากสุขอนามัย โดยการจูงใจจะหมายถึง งานที่ท้าทาย, การได้รับการยอมรับในความสำเร็จ, ความรับผิดชอบ, โอกาสในการทำสิ่งที่มีความหมาย, การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และ ความรู้สึกว่าสำคัญในที่ทำงาน เป็นต้น ในขณะที่สุขอนามัยจะหมายถึงเรื่องของ เงินเดือน, สภาพแวดล้อมในการทำงาน, กฎระเบียบขององค์กร, การบังคับบัญชา, ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน, สถานะและความรู้สึกปลอดภัย เป็นต้น
- พนักงานโดยทั่วไปมักจะไม่รู้สึกถึงความไม่พึงพอใจเมื่อตนเองมีสุขอนามัยที่ดี แต่เมื่อสุขอนามัยแย่ลง พนักงานจะไขว้เขวและรู้สึกไม่พอใจในงาน แม้ว่าพนักงานจะรู้สึกมีแรงจูงใจที่ดีก็ตาม
จากการสำรวจโดย Gallop พบว่าสาเหตุหลักของภาวะหมดไฟมีด้วยกัน 5 ข้อ ดังนี้
1. ความไม่ยุติธรรมจากการเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน
2. ปริมาณงานที่ไม่สามารถบริหารจัดการได้
3. ความไม่ชัดเจนของหน้าที่ความรับผิดชอบ
4. ความไม่ชัดเจนในการสื่อสาร และการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาที่ไม่เพียงพอ
5. ความกดดันในเรื่องของเวลาที่ไม่เหมาะสม
ทั้งนี้จากผลสำรวจ เราจะเห็นได้ว่าภาวะหมดไฟเป็นเรื่องที่สามารถป้องกันได้ โดยองค์กรต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่ดีในองค์กร ซึ่งเมื่อพิจารณาจากสาเหตุที่ได้กล่าวมา เราจะกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องของที่เกี่ยวกับที่ทำงานมากกว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคน.
* อ้างอิงจาก "Burnout is About Your Workplace, Not Your People"
#business #busguy
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น