ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

"การเคลื่อนที่ที่เร็ว และทำลายสิ่งของ (Move Fast and Break Things)" ไม่มีประสิทธิผลแล้ว ?


ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ความว่องไวรวดเร็ว (agility) ในวงการเทคโนโลยีมักมีความหมายที่สื่อไปถึงการทำงานที่รวดเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในทิศทางที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งก็ได้ผลดีดังที่เราได้เห็นจากการพัฒนาในเรื่องเทคโนโลยีในช่วงที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดีในช่วงทศวรรษข้างหน้า ความว่องไวรวดเร็วจะมีความหมายใหม่ในอีกแง่มุมนึง นั่นคือความสามารถในการค้นหาศาสตร์ความรู้หลากหลายพร้อมกัน และนำมารวมกันเป็นสิ่งใหม่ที่สร้างคุณค่า  ซึ่งเราจำเป็นที่ต้องเรียนรู้ที่จะลดความรวดเร็วเพื่อให้ได้มีเวลาในการสำรวจความหลากหลายต่างๆ

การเปลี่ยนแปลง 3 ด้าน อันจะทำให้เราจำเป็นต้องเปิดกว้างและลงลึกในการหาเชื่อมระหว่าง ปัญหา  เทคโนโลยี และ ข้อมูล มากกว่าเพียงแค่ การเคลื่อนที่ที่เร็ว และทำลายสิ่งของ

การเปลี่ยนแปลงที่ 1 : จากยุคของดิจิตอล เป็น ยุคหลังดิจิตอล
 - โครงสร้างการของการประมวลผลรูปแบบใหม่ เช่น ควอนตัม (quantum) หรือ นูโรมอร์ฟิก  (neuromorphic) จะต้องใช้ความก้าวหน้าซึ่งมีความซับซ้อนมากไปกว่าชิปประมวลผลดิจิตอล (digital chip) ซึ่งไม่สามารถใช้ศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งในการพัฒนา แต่เป็นการรวมองค์ความรู้ในหลายศาสตร์เข้าด้วยกัน
 - เรากำลังเคลื่อนที่จะยุคที่ก้าวไปอย่างรวดเร็ว จากสภาพแวดล้อมที่เราเข้าใจในเทคโนโลยีเป็นอย่างดี มาเป็นยุคที่เรามีความรู้น้อยมาก  ถ้าเราเคลื่อนที่ไปอย่างรวดเร็ว และทำลายสิ่งของ เราคงมีแนวโน้มที่จะทำลายในสิ่งที่สำคัญในการพัฒนา

การเปลี่ยนแปลงที่ 2 : จากการทำซ้ำวนไปอย่างเร็ว เป็น การแสวงหา
- ในขณะที่เราเข้าใจพื้นฐานของเทคโนโลยีที่เป็นพื้นฐานของสินค้าและบริการต่างๆ  เราสามารถที่จะเคลื่อนที่ได้เร็ว และพยายามที่จะทำการทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกระทั่งเราพบผลลัพธ์ที่เหมาะสม
- ในทศวรรษหน้า ความท้าทาย คือ การที่เราแทบไม่มีความรู้มากนักเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้น
- นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่เกี่ยวกับจริยธรรม ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) และ จีโนมิกส์ (Genomics) ซึ่งทำเราก้าวไปอย่างระมัดระวัง
- ในอนาคต เราจึงจำเป็นต้องเน้นการค้นหาแสวงหา  ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยเวลาเพื่อทำความเข้าใจในเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้ และ ทำความเข้าใจว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับธุรกิจอย่างไร

การเปลี่ยนแปลงที่ 3 : จากการแข่งขันที่รุนแรง เป็น การร่วมมือขนาดใหญ่
- การร่วมมือขนาดใหญ่ จะเกี่ยวข้องในการที่ภาครัฐเข้าเป็นพันธมิตรกับภาคการศึกษา และภาคอุตสาหกรรม ในการที่จะช่วยกันค้นหาเทคโนโลยีใหม่ ในช่วงก่อนการแข่งขัน (pre-competitive phase)
- ความว่องไวรวดเร็ว (agility) ในตอนนี้จะหมายถึงการเรียนรู้ที่ลงลึกและกว้างอย่างทั่วถึงในสภาพแวดล้อมเทคโนโลยี (technology ecosystem)

เทคโนโลยีใหม่ในอนาคตมีความซับซ้อนเกินกว่าองค์กรใดองค์กรหนึ่งจะพัฒนาได้ด้วยตนเอง และนั่นจะทำให้เราพอคาดเดาได้ว่าพื้นฐานในการแข่งขันในธุรกิจจะเปลี่ยนแปลงจากการทำการออกแบบ ทำซ้ำ และ ปรับเปลี่ยน (design, iteration and pivot) ไปเป็น การสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมายที่จะแก้ไขปัญหาที่ท้าทายที่ยิ่งใหญ่

อำนาจในยุคใหม่จะไม่ได้อยู่กับผู้ที่อยู่บนสุดของยอดอุตสาหกรรม แต่จะมาจากผู้ที่อยู่ในศูนย์กลางของเครือข่ายระบบนิเวศ

* อ้างอิงจาก "Why "Move Fast and Break Things" Doesn't Work Anymore"
#business #busguy

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...