ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ระวังอย่าไปในที่ชุมชนคนเยอะๆ นะ !



"ระวังอย่าไปในที่ชุมชนนะ.." - ปกติผมมักได้ยินคำนี้จากคนใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน คุณพ่อ คุณแม่ หรือญาติมิตรที่สนิทกับเรา  ซึ่งนอกจากประโยคในลักษณะนี้แล้วก็ยังมี เช่น "อย่าลืมใส่หน้ากากล่ะ.." หรือ "ล้างมือบ่อยๆ ด้วยนะ.." หรือแม้กระทั่ง "รีบไปรีบมา เลี่ยงได้ช่วงนี้ก็อย่าเพิ่งออกไปห้างเลย.."

ในทางธุรกิจแล้ว เรามักได้ยินธุรกิจต่างๆ มักมีการอบรมพนักงานให้มีความสุภาพ กล่าวคำต้อนรับทักทายกับลูกค้า.  บางบริษัทมักมีประโยคที่มักกล่าวออกมาให้ได้ยินกันในลักษณะเป็นประโยคเฉพาะตัวหรือคำพูดบทสนทนาที่กล่าวกับลูกค้า ดัวยประสงค์ให้ลูกค้ารับรู้หรือเชื่อว่าบริษัทเป็นเช่นคำกล่าวนั้น อาทิเช่น "ยินดีให้บริการจากใจค่ะ.." หรือ "บริษัทเราให้ความสำคัญกับลูกค้าสูงสุดครับ.." หรือ "บริษัทพร้อมบริการด้วยมาตรฐานสูงสุดแก่ลูกค้า.."

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะพยายามอย่างไรหรือพนักงานจะพูดอย่างไร ลูกค้าส่วนใหญ่ก็ไม่ได้รับความรู้สึกดีเพิ่มขึ้นหรือรู้สึกว่าเป็นคนพิเศษอย่างเช่นที่บริษัทพยายามทำให้ลูกค้ารับรู้. และถ้ายิ่งพฤติกรรมของธุรกิจสวนทางกับสิ่งที่บริษัทพยายามจะให้พนักงานสื่อสารเข้าแล้ว ถึงแม้จะพูดหรือกล่าวอย่างไร ลูกค้าก็แทบจะไม่มีความเชื่อในสิ่งที่ธุรกิจพยายามสร้างบุคคลิกหรือภาพลักษณ์แม้แต่น้อย.

ประเด็นหนึ่งที่ผมฉุกคิดขึ้นมา คือ "ทำไมบริษัทที่มีบริการที่ดี พนักงานมีความสุภาพในการปฏิบัติตัวและพูดคุย แต่เรายังรู้สึกเฉยๆ กับพนักงานหรือธุรกิจนั้นๆ ?."  นั่นหมายความว่าความสุภาพในการพูดคุยถือเป็นเรื่องพื้นฐานที่ธุรกิจต้องมี แต่ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้ลูกค้ารับรู้ถึงความพิเศษ. หรือความธรรมดาดังกล่าวจึงทำให้เราไม่ได้รู้สึกพิเศษหรือดีขึ้นแต่อย่างใด ?.

"ช่วงนี้ไวรัสระบาดเยอะ ระวังอย่าไปในที่ชุมชนคนเยอะๆ นะครับ"  พนักงานคนหนึ่งในธุรกิจบริการกล่าวขึ้นกับผมขณะที่กำลังจะเดินออกจากร้านค้า หลังจากที่ได้ใช้บริการและชำระเงินแล้ว.  ประโยคดังกล่าวแม้มันเป็นที่รู้สึกว่าได้ยินบ่อยๆ จากคนรอบตัว แต่มันไม่ใช่กับคนที่เพิ่งเคยเจอหรือพนักงานตามร้านค้าปกติ.

ความรู้สึกหนึ่งที่ปรากฏในขณะนั้น คือ ความรู้สึกห่วงใยของผู้พูด เป็นความรู้สึกใกล้ชิดที่สามารถจับจ้องได้. มันทำให้ความเป็นคนแปลกหน้าได้พังทลายลงและกลายเป็นเหมือนการสนทนากับคนกันเอง. ผมเชื่อว่าสิ่งนี้น่าจะเป็สิ่งที่กล่าวออกมาจากข้างในของพนักงานนั้นๆ ซึ่งไม่ได้มีบทหรือการอบรมมาจากในองค์กรที่เขาทำงาน.

พูดให้ง่ายๆ คือ พนักงานคนนี้ เหมือนผมได้มีความสนิทเพิ่มขึ้นกับเขา. และทำให้ผมอยากกลับมาใช้บริการหรืออยากพูดคุยกับเขาได้มากขึ้นในอนาคต.

การพัฒนาอบรมพนักงานสำหรับพนักงานขายหรือพนักงานต้อนรับในปัจจุบัน มักอยู่บนพื้นฐานของความสมบูรณ์ ความสุภาพอ้อมน้อม จนส่วนมากจะทำให้เกิดความแปลกแยกและเหินห่างระหว่างธุรกิจกับลูกค้า.  พนักงานซึ่งเสมือนเป็นด่านหน้าตัวแทนของธุรกิจมีความยากมากขึ้นในการที่จะพิชิตใจของลูกค้าให้เกิดความไว้วางใจกัน.

ในยุคปัจจุบันที่ผู้คนเริ่มโหยหาความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งปัจจุบันเหมือนมีสิ่งบางๆ ที่กั้นขวางระหว่างความสัมพันธ์ของผู้คน.  เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือเป็นสิ่งที่บั่นทอนหรือทำให้เกิดการแบ่งแยกในความสัมพันธ์ดังกล่าว.  เราสนทนาทักทายกันผ่านเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแม้แต่บางโอกาสเราอาจห่างกันแค่เอื้อมมือไปเรียก.

ดังนั้นธุรกิจควรกลับมาพิจารณาในวิธีที่จะเน้นให้พนักงานสร้างความพันธ์และความไว้วางใจกับลูกค้า. การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานไม่ควรติดอยู่กับรูปประโยคที่บริษัทพยายามสร้างสรรค์ให้พนักงานกล่าวกับลูกค้าเพื่อให้ลูกค้ารับรู้  แต่ควรเริ่มจากการฝึกอบรมให้พนักงานมีความเข้าใจและเห็นใจลูกค้ามากขึ้น. ให้พนักงานได้สร้างตัวตนที่ตั้งอยู่บนความเข้าใจและไว้เนื้อเชื่อใจกัน กลับมาสร้างบุคคลิกให้เป็นตัวตนที่แท้จริง ปราศจากบทท่องในการทักทายหรือบทในการพูดคุยกับลูกค้า.

สิ่งนี้นอกจากธุรกิจจะได้ใจจากลูกค้าแล้วยังจะได้ความภักดี และความรู้สึกเหมือนเขาเป็นส่วนหนึ่งร่วมไปกับองค์กรธุรกิจของคุณด้วย.

#business #busguy

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

หงส์ดำ แรดเทา ความเสี่ยง (s.257)

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . สัตว์สองตัวที่มักถูกนำมาเรียกเปรียบเปรยในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 นี้ได้แก่ หงส์ดำ (Back Swan) และ แรดเทา (Grey Rhino) ซึ่งมีนอกเหนือจากที่มีการเปรียบเปรยแล้ว ยังมีการถกเถียงกันถึงเรื่องว่าเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิดนี้ควรจัดเป็นเหตุการณ์ลักษณะของ หงส์ดำ หรือ แรดเทา กันแน่ โดยเหตุการณ์ทั้งสองถือเป็นสิ่งเราควรเรียนรู้ในเรื่องของการบริหารความเสี่ยง . เรื่องของ หงส์ดำ มีมาช้านานแล้ว โดยใช้เปรียบเปรยในลักษณะของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากในอดีตนั้น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหงส์จะต้องเป็นสีขาวเท่านั้น ดังนั้นหงส์ดำจึงเป็นสิ่งนอกความคิดหรือเป็นไปไม่ได้. อย่างไรก็ดี เมื่อต่อมาได้มีการค้นพบหงส์ดำเกิดขึ้นจริง การเปรียบเปรยหงส์ดำก็กลายเป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรือไม่น่ามีทางเกิดขึ้น แต่สุดท้ายก็เป็นไปได้. ทั้งนี้เหตุการณ์ที่จะเป็นหงส์ดำต้องมีลักษณะ 1.เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมาก่อน ข้อมูลในอดีตไม่มีการบ่งบอกที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น 2. มีผลกระทบที่รุนแรง และ 3. เมื่อมันเกิดขึ้นจริง แล้วเรามองย้อนกลับไป ก็จะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายการเกิดข...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...