#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business
.
ในอดีตที่ผ่านมาความเหลี่ยมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนมีแนวโน้มที่จะขยายตัวมากขึ้น แต่จากวิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้นได้ทำการตอกย้ำและเร่งความเหลี่ยมล้ำให้มีสูงมากยิ่งขึ้น โดยความเหลี่ยมล้ำดังกล่าวเป็นคความเหลี่ยมล้ำทั้งทางด้านสินทรัพย์และรายได้ แม้วิกฤตโควิด-19 จะส่งผลให้ความมั่งคั่งมีการปรับตัวลดลง อย่างไรก็ดีความมั่งคั่งของกลุ่มผู้มีรายได้สูงดังกล่าวใช้เวลาเพียง 9 เดือนในการฟื้นตัวกลับไปสู่ช่วงก่อนโควิด-19 ในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยอาจต้องใช้เวลาถึงทศวรรษเพื่อสะสมความมั่งคั่งกลับไปสู่ก่อนเกิดโควิด-19. นอกจากความมั่งคั่งทางด้านทรัพย์สินและรายได้แล้ว วิกฤตโควิด-19 ยังเผยให้เห็นถึงความเหลี่ยมล้ำในด้านอื่นๆ ด้วย เช่น ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ด้านความมั่งคงในการใช้ชีวิต เป็นต้น
.
ประชากรที่มีรายได้ต่ำมีโอกาสเสียชีวิตจากโควิด-19 สูงกว่าประชาชกรที่มีรายได้สูง และการเข้าถึงวัคซีนของประเทศพัฒนาแล้วก็สูงกว่าประเทศกำลังพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ - จากงานศึกษาหนึ่งพบว่าการระบาดของโควิด-19 ทำให้คนที่มีฐานะยากจนมีโอกาสเสียชีวิตเพิ่ม 32% เมื่อเทียบกับคนที่มีฐานะร่ำรวย ในขณะที่การเข้าถึงวัคซีนของประเทศพัฒนาแล้วก็สูงกว่าประเทศกำลังพัฒนาค่อนข้างมาก
.
ประเทศที่มีรายได้ต่ำต้องเผชิญกับการปิดสถานศึกษาที่ยาวนานกว่าประเทศที่มีรายได้สูง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่รุนแรงกว่าในระยะยาว - การสำรวจของ UNESCO UNICEF และ World Bank พบว่ากลุ่มประเทศรายได้ต่ำปิดสถานศึกษาที่ยาวถึง 4 เดือนในการควบคุมโรคระบาด ในขณะที่กลุ่มประเทศรายได้สูงปิดสถานศึกษาเพียง 6 สัปดาห์ ซึ่งผลของการปิดสถานศึกษาทำให้ผลิตภาพแรงงานลดลง บั่นบอนความสามารถในการสร้างรายได้ในอนาคตและกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว
.
วิกฤตโควิด-19 ส่งผลให้อัตราการว่างงานปรับสูงขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีแรงงานจำนวนมากไม่ได้รับสิทธิแรงงานอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะแรงงานที่มีค่าแรงต่ำ - อัตราการว่างงานในกลุ่มประเทศ OECD ปรับสูงขึ้นในเดือนเม.ย.2020 อยู่ที่ 8.8% สูงกว่าวิกฤตการเงินในปี 2008 โดย Oxfam และ Development Finance International บ่งชี้ว่าแรงงานอย่างน้อย 1 ใน 3 ที่ไม่ได้รับสิทธิแรงงานและการคุ้มครอง เช่น การได้รับค่าจ้างในกรณีที่เจ็บป่วย โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานที่มีรายได้ขั้นต่ำ
.
🙏🙏
อ้างอิง: 'Inequality ผลกระทบของวิกฤต COVID-19 ตอกย้ำความเหลื่อมล้ำในโลก' SCB EIC
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น