#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . ในขณะที่วัคซีนโควิด-19 เริ่มกระจายการฉีดในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรม เช่น สหรัฐอเมริกาและประเทศในกลุ่มยุโรป ทำให้เศรษฐกิจโลกในขณะนี้ดูเหมือนกำลังฟื้นตัวจากประโยชน์จากการได้รับวัคซีนของประชาชนและทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาเป็นปกติ รวมถึงจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง และการฟื้นของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน . ทั้งนี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐกำลังกดดันให้เกิดเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น อันมีผลไปยังแนวโน้มของการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีหลัง โดยหากการฟื้นตัวเป็นไปอย่างดี จะกดดันให้เงินทุนระหว่างประเทศไหลออกจากประเทศในตลาดเกิดใหม่รวมถึงประเทศไทย และทำให้ต้นทุนทางการเงินในระบบเศรษฐกิจโลกสูงขึ้น ดังนั้นการตั้งรับกับเศรษฐกิจที่อาจฟื้นตัวช้าของประเทศไทยเราควรมีแนวทางดังนี้ . 1. เศรษฐกิจจะฟื้นตัวไม่ได้ถ้าการระบาดของโควิด-19 ยังไม่นิ่ง - การทำนโยบายควรให้ความสำคัญกับการลดการระบาดเป็นอันดับแรก ทุ่มทรัพยากรเต็มที่เพื่อไม่ได้การระบาดยืดเยื้อ 2. เมื่อการระบาดลดลง แนวคิดที่จะสร้างประเทศให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยเหมือนในที่ทำได้ในช่วงปีก่อนหน้าจะเป็นสิ่งเรื่องที่ทำไม่ได้อีกแล้ว - การสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและนักท่องเที่ยว คือ การฉีดวัคซีนและระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็ง 3. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ การฉีดวัคซีน - วิธีหนึ่งที่จำช่วยคือ การเปิดเสรีนำเข้าวัคซีนที่ได้มาตรฐาน และใช้กลไกตลาดในการกระจายวัคซีน 4. มาตรการเยียวยาที่ได้ทำไป มีเหตุผล แต่มีต้นทุนสูงเช่นกัน - ควรเป็นมาตรการชั่วคราวกรณีฉุกเฉิน ไม่ควรทำต่อเนื่อง ดังนั้นหากจะทำควรลดขนาดการเยียวยาและให้เฉพาะผู้ที่จำเป็นจริงๆ 5. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจควรให้ความสำคัญกับการสร้างงานให้คนที่ตกงานและต้องการทำงานให้มีงานทำ - ให้คนทำงานเพื่อได้เงินจากภาครัฐ ซึ่งไม่ใช่การแจกเงิน 6. บทบาทนำที่จะขับเคลื่อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้กับประเทศต้องมาจากภาคเอกชน - รัฐควรทุ่มเทเวลาในการแก้ไขปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจ เปิดเสรีให้ภาคธุรกิจมีการแข่งขัน และสร้างแรงจูงใจให้ภาคธุรกิจและคนรุ่นใหม่ได้สร้างนวัตกรรมและลงทุน . อ้างอิง: 'เราจะตั้งรับเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าอย่างไร' บัณฑิต นิจถาวร หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น