ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เทคนิคการจัดการวิกฤตซ้ำซาก (s.240)

 

#busguy #ธุรกิจแบ่งปัน #business . วิกฤตเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแบบซ้ำซาก เมื่อวิกฤตที่เกิดขึ้นเหมือนจะสิ้นสุดลงแล้วแต่กลับเกิดขึ้นมาใหม่ ดูแล้วไม่จบสิ้น สิ่งที่เกิดขึ้นมักเป็นความตระหนกของผู้คน โดยถึงแม้ว่าเราจะผ่านเหตุการณ์นั้นมาแล้ว แต่เรากลับทำตัวและรู้สึกเหมือนยังเกิดขึ้นครั้งแรก ซึ่งในเหตุการณ์ดังกล่าวเราสามารถแบ่งช่วงเวลาออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อบริหารจัดการได้ดังนี้ . ช่วงระยะของความตกใจ - ช่วงเวลานี้เรามักหมดเวลาไปกับการติดตามข่าวคราวต่างๆ ที่ดูเหมือนกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีต โดยเราควรพิจารณาเลือกรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นข่าวสารในลักษณะช่วยเติมพลังให้กับตัวเรา เป็นข่าวสารที่รู้แล้วช่วยให้เราทำอะไรบางอย่างให้ดีขึ้นได้. หากเป็นสิ่งที่เรารู้แล้วจะเอาไปปรุงแต่งเป็นเรื่องในแง่ลบ ก็ควรที่จะลดการรับรู้ลง เพื่อบรรเทาความเครียด . ช่วงระยะการตอบสนองต่อวิกฤต - ช่วงเวลานี้เราควรตระหนักไว้ว่าการหาหนทางรับมือกับวิกฤตที่เกิดขึ้นซ้ำซาก เป็นเสมือนการวิ่งระยะทางไกล ซึ่งจะเจอสิ่งซ้ำๆ ได้ตลอดทางที่ไป และไม่ควรหวังว่าจะมีทางลัดให้จบได้เร็วขึ้น. ดังนั้นการวิ่งทางไกล เราจึงควรคิดหาหนทางให้รอบคอบ ตุนพลังงานเอาไว้ และอย่าเทหมดกระเป๋าในรอบนี้ เพราะยังอาจจะมีรอบหน้าอีกต่อไป . ช่วงระยะประมวลผลของการตอบสนองวิกฤต - ช่วงระยะเวลานี้จะมีคนที่จะมาบอกว่าเป็นเวลาแห่งการสร้างนวัตกรรม เป็นเวลาแห่งการสร้างโอกาสจากวิกฤต อย่างไรก็ดีการคิดจะเปลี่ยนแปลงอะไรให้เป็นสิ่งที่มีคุณค่าใหม่นั้น เราต้องคิดพาตนเองให้หลุดพ้นออกไปจากความหงุดหงิด ความกังวล ให้ได้เสียก่อน. สิ่งที่ควรทำในช่วงนี้คือ การทบทวนดูว่าอะไรบ้างที่เราทำแล้วและให้ผลดีกับชีวิตของเรา ให้จดจำไว้สำหรับทำต่อไปในครั้งหน้า หรืออะไรที่ทำแล้วเสียประโยชน์ ก็หยุดทำในครั้งต่อไป . ช่วงระยะปรับตัว ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนอย่างถาวรหลังวิกฤต - วิกฤตที่เกิดซ้ำซาก มักไม่มีการสิ้นสุดของระยะปรับตัว คือ เมื่อเราปรับตัวไปแล้ว วิกฤตก็ยังจะมาซ้ำอีกและต้องปรับตัวกันใหม่ ดังนั้นการยอมรับว่าการปรับตัวเป็นพลวัตเป็นสิ่งที่ควรทำ รวมถึงให้ตั้งความหวังไว้ว่าอีกไม่นานวิกฤตที่เกิดนี้ก็จะบรรเทาลงเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา . 🙏🙏 อ้างอิง: 'อย่าหมดใจกับวิกฤตซ้ำซาก' บวร ปภัสราทร หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กระตุ้นพฤติกรรม ด้วยโบนัสแบบ Spot (s.154)

  บริษัทจำนวนมาจะมีระบบการให้ผลตอบแทนที่เรียกว่า "โบนัส" ประจำปี  โดยอาจพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทร่วมกับผลงานของพนักงาน และโบนัสดังกล่าวมักอยู่ในรูปของเงินก้อนใหญ่เมื่อเปรียบกับเงินเดือนของพนักงานผู้นั้น ทำให้บริษัทต้องมีภาระทางการเงินเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการให้โบนัส  อย่างไรก็ดียังมีวิธีหนึ่งในการให้ผลตอบแทนพนักงานซึ่งเป็นการให้ที่ถี่กว่าและจำนวนเงินก้อนเล็กกว่าเมื่อเทียบกับโบนัสประจำปี ซึ่งอาจเรียกว่าโบนัสในลักษณะนี้ว่าเป็น Spot Bonus โดยทั่วไปนั้น Spot Bonus จะให้กับพนักงานหรือกลุ่มของพนักงานสำหรับพฤติรรม การกระทำ หรือผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่งๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นผลงานและสร้างแรงจูงใจของพนักงานในการทำงาน โดยมักเกี่ยวข้องกับงานที่เป็นโครงการ หรือเป็นการให้เพื่อส่งเสริมการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บริษัทประสงค์จากตัวพนักงาน.  ประโยชน์การนำ Spot Bonus มาใช้ในองค์กรนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ ดังนี้ 1. Spot Bonus สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานได้บ่อยครั้งขึ้น - แทนที่ต้องรอโบนัสในช่วงปลายปี การให้ Spot Bonus จะ...

Word of the Year 2022 (s.540)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Word of The Year ที่นำเสนอโดยสำนักพิมพ์ดิกชันนารีออกฟอร์ด ซึ่งได้ประกาศออกมาโดยการใช้วิธีการโหวตออนไลน์ ได้คำว่า "goblin mode" ซึ่งหมายถึงชนิดของพฤติกรรมที่ตามใจตนเอง ขี้เกียจ ดูสกปรก ไร้ระเบียบ มีลักษณะทั่วไปที่ปฏิเสธแบบแผนของสังคมซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน. ➼ การตีความว่าคนอยู่ในโหมดของการเป็น goblin หมายถึงคนที่เลือกเองว่าจะอยู่ในโหมดของการเป็นคนสกปรก ขี้เกียจ ไม่สนใจสารรูปของตนเอง บริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และชอบอยู่ในบ้านไม่ออกไปข้างนอก. ➼ สำหรับสำนักพิมพ์ดิกชันนารี Merriam-Webster ได้เลือก Word of the Year คำว่า "gaslighting" ซึ่งหมายความถึงการพยายามทำให้บุคคลหนึ่งรู้สึกไม่มั่นคงและสั่นคลอนในความเชื่อของตน จนทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เห็นหรือมีประสบการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง. ซึ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง. ➼ สำนักพิมพ์ดิกชันนารี Collins เลือก "permacrisis" ซึ่งแปลว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงทน เพื่อเล่าสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่คาดเดาได้ยาก เกิดความไม่มั่นคงในหลายด้าน บรรยากาศเต็มไปด้วยความวุ่นวาย. อ้างอิง: ...

Reserve Currency (s.538)

  #จดมาสรุปเป็นข้อ #ธุรกิจแบ่งปัน #busguy  ➼ Reserve Currency คือ เงินตราต่างประเทศที่ธนาคารกลางและสถาบันการเงินใหญ่ๆ ในโลกถือไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อใช้ในการค้า การลงทุนและการชำระหนี้ระหว่างประเทศ. ➼ ตั้งแต่ปี 1944 มี 44 ประเทศได้ตกลงกันที่เมือง Bretton Woods ที่จะให้ดอลลาร์เป็นเงินตราที่จะใช้ในธุรกรรมระหว่างประเทศ โดยประเทศต่างๆ จะผูกค่าเงินของตนไว้กับดอลลาร์ และดอลลาร์ก็จะผูกไว้กับทองคำอีกต่อหนึ่ง ในอัตรา 35 ดอลลาร์ต่อทองทำ 1 Troy Ounce นี่เป็นจุดกำหนดของระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate System). ➼ ในปี 1973 ประธานาธิบดีนิกสันได้ประกาศยกเลิกการผูกค่าเงินดอลลาร์ไว้กับทองคำ อันเป็นจุดเริ่มต้นของระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Flexible Exchange Rate System) โดยแม้ดอลลาร์จะไม่มีทองคำหนุนหลัง แต่ดอลลาร์ก็ยังคงเป็น reserve currency หลักของโลกมาตลอดมาตลอดเกือบ 80 ปี เพราะสภาพคล่องที่มีสูงมาก. ➼ สหรัฐถือเป็นประเทศที่ได้เปรียบทุกประเทศในการที่สามารถใช้เงินของตนทำธุรกรรมต่างประเทศได้ อย่างไรก็ดี ในระยะยาว ยังมีคำถามที่เกิดขึ้นคือ ดอลลาร์อาจสูญเสียความเป็น reserve currency หลักของ...